Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13905
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวานth_TH
dc.contributor.authorเบญจพร ยมนา, 2536-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2025-02-01T03:28:29Z-
dc.date.available2025-02-01T03:28:29Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13905en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตร 2) ความรู้ แหล่งความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร 3) สภาพการใช้แอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร ประชากรคือ เกษตรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรพาน จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ.2564 จำนวน 1,335 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.07 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 178 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านแอปพลิเคชัน 89 ราย เกษตรกรที่ไม่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านแอปพลิเคชัน จำนวน 89 ราย และทำการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่กำหนดแบบง่ายโดยการจับสลาก ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และวิเคราะห์โดยไคสแควร์ ผลการวิจัย 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.63 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เกินครึ่งมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน มีความสามารถในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนระดับปานกลาง มีพื้นที่ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 12.23 ไร่ มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดเกือบทั้งหมด รายได้เฉลี่ย 51,081.72 บาทต่อปี หนี้สินน้อยกว่า 40,000 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง แหล่งความรู้สื่อบุคคลเป็นสื่อที่เกษตรกรได้รับมากที่สุด เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในระดับน้อย 3) สภาพการใช้งานแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยสภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล 5) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาด้านการส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการเข้าใช้งาน เกษตรกรมีข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล คือควรให้จัดอบรม การถ่ายทอดความรู้ ทักษะแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือด้านการเข้าใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล คือควรปรับปรุงรูปแบบของการเข้าใช้งานให้เหมาะสม ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่ายและใช้เวลาไม่นานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectเกษตรกร--ไทย--เชียงรายth_TH
dc.titleปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงรายth_TH
dc.title.alternativeFactors relating to the adoption of using the DOAE Farmbook application by farmers in Moung Kham Sub-district, Phan District, Chiang Rai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร)th_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study 1) personal, economic, and social conditions of farmers 2) knowledge, knowledge resource, and opinion regarding DOAE Farmbook application of farmers 3) DOAE Farmbook application usage conditions 4) factors relating the adoption of DOAE Farmbook application of farmers 5) problems and suggestions about the use of DOAE Farmbook application of farmers. The population was 1,335 farmers who had registered with Phan agricultural office, Chiang Rai province in the year 2021. The sample size of 178 people was determined by using Taro Yamane formula with the error value of 0.07. The sample size was then divided into 2 groups: 89 farmers who had registered the armbook through the application, and 89 farmers who had not registered the farmbook through the application.The sampling was done according to the determined amount by using simple method via lotto selection.The quantitative data were analyzed by using descriptive analysis such as frequency, percentage, minimum value, maximum value, mean, standard deviation, ranking, and variable correlation analysis with Chi-square. The results of the research showed that 1) most of the farmers were male with the average age of 57.63 years old, and completed primary school educatio, had farmer as their profession the most, and did not hold social position.More than half of them possessed smartphones, were able to use smartphones at the moderate level, and had the average agricultural area of 12.23 Rai. Almost all of the ownership on their land was through title deeds. The average income was 51,081.72Baht/year and the debts were lower than 40,000 Baht/year. 2) Farmers had knowledge about DOAE Farmbook application at the moderate level. Knowledge resource through personal media was the media which farmers received the most. Farmers expressed their opinions on DOAE Farmbook application at the low level. 3) The condition of the usage of DOAE Farmbook application was at the moderate level. 4)Basic personal, economic, and social condition factors of farmers did not relate to the adoption of DOAE Farmbook application. 5)Problems of farmers about DOAE Farmbook application, overall, were at the moderate level with the problem regarding the extension of the usage of DOAE Farmbook application at the highest level. Second to that was on the use of the application. Farmers suggested that the extension in the use of DOAE Farmbook application were such as giving out training, transferring the knowledge and skills, and continuously recommending the use of DOAE Farmbook application. Second to that was the accessibility to use the DOAE Farmbook application which would include the modification of the form in order to be used more appropriately, less complicate, user-friendly, and less time consuming.en_US
dc.contributor.coadvisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริมth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.86 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons