กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13905
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร ตำบลม่วงคำ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors relating to the adoption of using the DOAE Farmbook application by farmers in Moung Kham Sub-district, Phan District, Chiang Rai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
เบญจพร ยมนา, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--เชียงราย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจ และสังคมของเกษตร 2) ความรู้ แหล่งความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร 3) สภาพการใช้แอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร 4) ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยอมรับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลของเกษตรกร ประชากรคือ เกษตรที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรพาน จังหวัดเชียงราย ในปี พ.ศ.2564 จำนวน 1,335 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน กำหนดค่าความคลาดเคลื่อนที่ 0.07 ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 178 ราย แบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็น 2 กลุ่ม คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านแอปพลิเคชัน 89 ราย เกษตรกรที่ไม่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผ่านแอปพลิเคชัน จำนวน 89 ราย และทำการสุ่มตัวอย่างตามจำนวนที่กำหนดแบบง่ายโดยการจับสลาก ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์โดยสถิติพรรณนาได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับ และวิเคราะห์โดยไคสแควร์ ผลการวิจัย 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุเฉลี่ย 57.63 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพเกษตรกรมากที่สุด ส่วนใหญ่ไม่มีตำแหน่งทางสังคม เกินครึ่งมีโทรศัพท์เคลื่อนที่ สมาร์ทโฟน มีความสามารถในการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟนระดับปานกลาง มีพื้นที่ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 12.23 ไร่ มีเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดเกือบทั้งหมด รายได้เฉลี่ย 51,081.72 บาทต่อปี หนี้สินน้อยกว่า 40,000 บาทต่อปี 2) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง แหล่งความรู้สื่อบุคคลเป็นสื่อที่เกษตรกรได้รับมากที่สุด เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในระดับน้อย 3) สภาพการใช้งานแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลอยู่ในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยสภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรไม่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล 5) ปัญหาของเกษตรกรเกี่ยวกับแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีปัญหาด้านการส่งเสริมการใช้แอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลมากที่สุด รองลงมาเป็นด้านการเข้าใช้งาน เกษตรกรมีข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมการใช้สมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล คือควรให้จัดอบรม การถ่ายทอดความรู้ ทักษะแนะนำการใช้งานเกี่ยวกับการใช้งานแอปพลิเคชันสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง รองลงมาคือด้านการเข้าใช้งานสมุดทะเบียนเกษตรกรดิจิทัล คือควรปรับปรุงรูปแบบของการเข้าใช้งานให้เหมาะสม ไม่ซับซ้อน ใช้งานง่ายและใช้เวลาไม่นาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13905
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.86 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons