Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13906
Title: การผลิตมะขามเทศของเกษตรกรตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในอำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: Manila tamarind production based on good agricultural practice by farmers in Non Sung District of Nakhon Ratchasima Province
Authors: สุนันท์ สีสังข์
อภิสิทธิ์ ทินคำ, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปริชาติ ดิษฐกิจ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
มะขามเทศ--การผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพและปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการผลิต การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาดในการผลิตมะขามเทศ (3) การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรในการผลิตมะขามเทศ และ (4) แนวทางการส่งเสริมเกษตรกรในการผลิตมะขามเทศตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรในการศึกษาคือ เกษตรกรผู้ผลิตมะขามเทศในพื้นที่อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมาที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรปี 2564/65 จำนวน 128 ราย เก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 56.52 ปี จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.45 คน ประสบการณ์การปลูกมะขามเทศเฉลี่ย 7.80 ปี พื้นที่การปลูกมะขามเทศเฉลี่ย 3.51 ไร่ รายได้จากการขายมะขามเทศเฉลี่ย 36,593.64 บาทต่อไร่ รายจ่ายในการผลิตมะขามเทศเฉลี่ย 5,709.70 บาทต่อไร่ ส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลข่าวสารการผลิตมะขามเทศจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร (2) พื้นที่ปลูกมะขามเทศเป็นพื้นราบ ดินร่วนปนทราย ปลูกในลักษณะเชิงเดี่ยว ระยะการปลูก 8x8 เมตร ใช้ท่อนพันธุ์มะขามเทศพันธุ์เพชรโนนไทย ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 และสูตร 8-24-24 ให้น้ำโดยใช้ท่อและสายยาง พบปัญหาการระบาดของเพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง หนอนเจาะผลลิ้นจี่ และแมลงปีกแข็ง แต่ไม่มากนัก โดยใช้สารเคมีในการป้องกันกำจัด การเก็บเกี่ยวในระยะผลมีสีเขียวเริ่มเปลี่ยนเป็นสีชมพู ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมีนาคมของทุกปี ผลผลิตเฉลี่ย 684.44 กิโลกรัมต่อไร่ จำหน่ายผลผลิตให้กับผู้รวบรวมในท้องถิ่น/พ่อค้าปลีก ซึ่งเกษตรกรไม่มีวิธีการเพิ่มอำนาจการต่อรองราคา ราคาผลผลิตเฉลี่ย 53.32 บาทต่อกิโลกรัม (3) เกษตรกรมีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีเกือบทุกประเด็น ยกเว้น การจดบันทึก การผลิตให้ปลอดภัยจากศัตรูพืช การจัดการคุณภาพในกระบวนการผลิตก่อนการเก็บเกี่ยว การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว (4) ภาพรวมเกษตรกรเห็นด้วยกับแนวทางการส่งเสริมการผลิตมะขามเทศตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากทุกประเด็น ได้แก่ การผลิตมะขามเทศตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี วิธีการส่งเสริมรายบุคคล วิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม วิธีการส่งเสริมแบบมวลชน การให้บริการและการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13906
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.09 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons