กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13909
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ข้าวโพดหวานในอำเภอนาแก จังหวัดนครพนม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of sweet corn production to certify the certification of good cagricultural practices of sweet corn collaborative farming famer group, in Na Kae District, Nakhon Phanom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม
บรรจง ชุ่มเสนา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าวโพดหวาน--การผลิต--มาตรฐาน
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไปของเกษตรกร 2) การได้รับความรู้ และความรู้ของเกษตรกรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 3) ความต้องการของเกษตรกรในการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี และ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่สมัครเข้าร่วมโครงการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ของจังหวัดนครพนม ปี 2563 จำนวน 106 ราย โดยศึกษาจากประชากรทั้งหมด ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูล โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกร ร้อยละ 61.3 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 52.79 ปี ร้อยละ 91.5 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา มีประสบการณ์ในการปลูกข้าวโพดหวานเฉลี่ย 7.98 ปี ร้อยละ 84.0 ไม่มีตำแหน่งทางสังคมร้อยละ 67.9 ได้รับการชักชวนจากคณะกรรมการและสมาชิกกลุ่ม มีจำนวนแรงงานภายในครัวเรือนเฉลี่ย จำนวน 2.79 คน มีพื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 6.51 ไร่ มีพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวาน เฉลี่ย 3.01 ไร่ 2) เกษตรกรร้อยละ 97.1 ได้รับการความรู้จากการฝึกอบรม สัมมนา แหล่งความรู้จากสื่อบุคคล คือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด รองลงมา คือ สื่อสิ่งพิมพ์ คือ เอกสารเผยแพร่ และสื่อออนไลน์ คือ ยูทูป เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในภาพรวมในระดับมาก 3) เกษตรกรมีความต้องการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ การสนับสนุนปัจจัยการผลิต และการยกระดับมาตรฐานและเพิ่มมูลค่าการผลิต 4) เกษตรกรมีปัญหาในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาในระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการผลิต และด้านการตลาด และเกษตรกรเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะในการส่งเสริมการผลิตข้าวโพดหวานเพื่อเข้าสู่การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเห็นด้วยในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ด้านการส่งเสริมการเกษตร ด้านการผลิต ด้านการบริหารจัดการ และด้านการตลาด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13909
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.9 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons