กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13911
ชื่อเรื่อง: การส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension of organic rice production in Rice Collaborative Farming, Ban Tak District, Tak Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ
ภูวดล วังอินต๊ะ, 2536-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าว--เกษตรอินทรีย์--ไทย--ตาก
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพส่วนบุคคล สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้และแหล่งความรู้ในการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 3) สภาพการผลิตและสิ่งจูงใจในการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 4) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรกลุ่มแปลงใหญ่ข้าว อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก ปี พ.ศ. 2564 จำนวน 222 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน ที่ระดับความคาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 143 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับสลาก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน และการจัดอับดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.01 ปี มีประสบการณ์ทำนา 21.84 ปี มีพื้นที่ทำนาเฉลี่ย 11.37 ไร่ มีพื้นที่การเกษตรเป็นของครัวเรือน ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 2,781.47 บาท/ไร่ รายได้ครัวเรือนเฉลี่ย 67,143.36 บาท/ปี 2) เกษตรกรมีความรู้การผลิตข้าวอินทรีย์อยู่ในระดับมาก และแหล่งความรู้ที่เข้าถึงมากที่สุดคือ เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 3) เกษตรกรมีการปฏิบัติการผลิตข้าวอินทรีย์อยู่ในระดับมาก ส่วนใหญ่ไม่เลือกปฏิบัติในประเด็นการหว่านถั่วเขียวช่วยควบคุมวัชพืช และมีสิ่งจูงใจในการผลิตข้าวอินทรีย์ คือ ความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค 4) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมด้านเนื้อหาความรู้การผลิตข้าวอินทรีย์อยู่ในระดับมากทุกประเด็น โดยประเด็นที่ต้องการการส่งเสริมอันดับแรก คือ วิธีการปลูกข้าวอินทรีย์ ส่วนวิธีการส่งเสริมที่เกษตรกรต้องการอันดับแรก คือ การส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร 5) เกษตรกรมีปัญหาด้านพื้นที่การผลิตข้าวอินทรีย์ไม่สามารถปฏิบัติตามได้ และมีข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมว่าควรมีการจัดฝึกอบรมและจัดทำแปลงสาธิตด้านการผลิตข้าวอินทรีย์ให้แก่เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13911
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.29 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons