กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13912
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกรในอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors related to participation on operational of longan collaborate farmers group by farmers in Saraphi District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน
อมรรัตน์ ยุปาระมี, 2534-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
นารีรัตน์ สีระสาร
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
โครงการแปลงใหญ่ลำไย--ไทย--เชียงใหม่
ลำไย--การผลิต--ไทย--เชียงใหม่
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพการผลิตของเกษตรกร 2) ความรู้ แหล่งความรู้และความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร 5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ เกษตรกรที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ลำไย อำเภอสารภี ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ ปี พ.ศ. 2564 จำนวนรวมทั้งหมด 581 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ที่ความคลาดเคลื่อน 0.06 ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 188 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยวิธีการจับสลาก จัดเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับและวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรอายุเฉลี่ย 63.40 ปี ระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มแปลงใหญ่เฉลี่ย 3.09 ปี เข้ารับการอบรมทางด้านการเกษตรเฉลี่ย 3.56 ครั้ง/ปี รายได้เฉลี่ยในภาคการเกษตร 75,382.98 บาท/ปี พื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 7.08 ไร่ พื้นที่ปลูกลำไยเฉลี่ย 6.88 ไร่ 2) ความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร ในภาพรวมเกษตรกรมีความรู้เฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ได้รับความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆ ในระดับปานกลาง โดยได้รับความรู้จากสื่อกิจกรรมมากกว่าแหล่งอื่น ๆ และความคิดเห็นเกี่ยวกับการส่งเสริมเกษตรแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร อยู่ในระดับมาก 3) การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร ด้านการวางแผน การดำเนินงาน การรับผลประโยชน์ และการประเมินผล ภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ประเด็น โดยมีส่วนร่วมในประเด็น การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มากที่สุด รองลงมา คือ การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ ตามลำดับ 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ข้อเสนอแนะของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมากโดยเฉพาะ ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 5) จำนวนเข้ารับการอบรมทางด้านการเกษตร รายได้ในภาคการเกษตร จำนวนพื้นที่ถือครองทางการเกษตร และแหล่งความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร มีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานกลุ่มแปลงใหญ่ลำไยของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13912
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons