กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13913
ชื่อเรื่อง: | การจัดการการใช้สารชีวภัณฑ์จากเชื้อ Bacillus subtilis TU 089 ของเกษตรกร ตำบลนางาม อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Chili disease management from microbial pesticides bacillus subtilis TU 089 of farmers in Na Ngam Sub-district, Renu Nakhon District, Nakhon Phanom Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วนาลัย วิริยะสุธี ศิราณี สมศรี, 2538- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ธำรงเจต พัฒมุข |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--วิทยานิพนธ์ พริก--โรคและศัตรูพืช--การควบคุม |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพทางสังคม และสภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการโรคพริกและการวินิจฉัยโรคพริก 3) การปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดการโรคพริกและ 4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการผลิตพริกของเกษตรกรที่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ และเกษตรกรที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ เกษตรกรผู้ผลิตพริก ปีเพาะปลูก 2564/2565 ที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานเกษตรอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม จำนวน 20 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยกลุ่มที่ 1 คือ เกษตรกรกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ และเป็นสมาชิกกลุ่มศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จำนวน 10 คน และกลุ่มที่ 2 คือ เกษตรกรกลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ จำนวน 10 คน ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเเบบมีโครงสร้าง และวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตํ่าสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรสองกลุ่มมีสภาพทางสังคมและเศรษฐกิจที่เหมือนกัน เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา การถือครองที่ดินเป็นของตนเอง พื้นที่ปลูกพริกเฉลี่ย 1 ไร่ และมีประสบการณ์ปลูกพริกเฉลี่ย 10 ปี 2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดการโรคพริก เกษตรกรกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์มีความรู้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 60 กลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ มีความรู้ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 35 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวินิจฉัยโรคพริก เกษตรกรกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ เกษตรกรทั้งหมด มีความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยศัตรูพริก ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ เกษตรกรร้อยละ 90 มีความรู้เกี่ยวกับการวินิจฉัยศัตรูพริก 3) การปฏิบัติในการจัดการโรคพริกของเกษตรกร พบว่า วิธีการปฏิบัติของเกษตรกรทั้งสองกลุ่มที่แตกต่างกัน คือ การจัดการป้องกันโรคพริก โดยเกษตรกรกลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ มีการใช้สารชีวภัณฑ์ Bacillus subtilis TU089 ในการป้องกันโรคพริกในระยะกล้า ระยะพริกออกดอก จนถึงระยะเก็บเกี่ยว สำหรับกลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์มีการใช้สารเคมีกลุ่ม แมนโคแซบ ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนถึงระยะเก็บเกี่ยว ปริมาณผลผลิตพริก กลุ่มที่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ ผลผลิตพริกเฉลี่ย 1,396 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ ให้ผลผลิตเฉลี่ย 1,761 กิโลกรัมต่อไร่และ 4) ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับปัญหาการผลิตพริก พบว่า เกษตรกรทั้งสองกลุ่ม มีปัญหาด้านการตลาด และต้นทุนการผลิตพริกเช่นเดียวกัน ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อปัญหาความรุนแรงของโรคพริก เกษตรกรทั้งสองกลุ่มมีความเห็นว่า โรคเน่าคอดิน โรคใบหยิกเหลืองพริก โรคใบจุดตากบ และโรคกุ้งแห้ง เป็นโรคพริกที่มีความรุนแรง ผลจากการศึกษานี้เป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการผลิตพริกปลอดภัย ต่อไปได้ในอนาคต |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13913 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 12.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License