กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13914
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าว ของเกษตรกรในอำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Extension guideline for integrated pest management of rice production by farmers in Bang phae District, Ratchaburi Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จินดา ขลิบทอง ณัฐรดา นาคปฐม, 2531- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์ ข้าว--โรคและศัตรูพืช--การควบคุมแบบผสมผสาน |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร 2) การผลิตข้าวและการจัดการศัตรูพืชของเกษตรกร 3) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานของเกษตรกร 4) ความต้องการและแนวทางการส่งเสริมการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวในอำเภอบางแพจังหวัดราชบุรี ที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวในปีการเพาะปลูก 2564/65 จากระบบฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร จำนวน 155 ราย กำหนดขนาดตัวอย่างตามสูตรทาโร่ยามาเน่ ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง 112 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุดค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดอันดับและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55.90 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาจำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 2.67 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.40 คน ร้อยละ 42.0 ที่ดินเป็นของตนเองหรือครอบครัวเกษตรกรรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานอยู่ในระดับน้อย 2) พื้นที่ปลูกข้าวเฉลี่ย 19.07 ไร่ ประสบการณ์ในการปลูกข้าวเฉลี่ย 19.46 ปี ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,759.83 บาทต่อไร่ รายได้จากการผลิตข้าวแฉลี่ย 5,268.53 บาทต่อไร่ ศัตรูข้าวที่พบการระบาดมากที่สุด คือหนอนกอข้าวเกษตรกรปฏิบัติตามการจัดการศัตรูข้าวโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าวในระดับปานกลาง 3) เกษตรกรมีปัญหาระดับปานกลาง ในประเด็น การใช้วิธีเขตกรรม การใช้วิธีกลการใช้ชีววิธี และการใช้สารธรรมชาติ เกษตรกร มีปัญหาระดับน้อยในประเด็น การใช้วิธีฟิสิกส์ การควบคุมด้วยเทคนิค และการใช้สารเคมี เกษตรกรมีข้อเสนอแนะในการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน คือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาให้ความรู้ในรูปแบบกลุ่ม 4) ต้องการการส่งเสริมระดับมากที่สุดในประเด็นการควบคุมด้วยเทคนิคการใช้แมลงเป็นหมัน ต้องการช่องทางการส่งเสริมในระดับมากจากราชการ ผ่านวิธีการส่งเสริมระดับมากในรูปแบบบรรยายและสาธิตแนวทางการส่งเสริม โดยนักส่งเสริมให้ความรู้วิธีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าว ในรูปแบบสื่อบุคคลที่เป็นนักส่งเสริมการเกษตร สื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นแผ่นพับ คู่มือ โปสเตอร์ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์การสร้างกลุ่มไลน์ ด้วยวิธีการบรรยายอบรม สาธิตฝึกปฏิบัติจริงและทัศนศึกษาเพื่อให้เกษตรกรปฏิบัติตามวิธีการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานในการผลิตข้าว |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2565 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13914 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License