Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13918
Title: มาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตจากการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์
Other Titles: Measures to protecting corruption whistleblowers from strategic lawsuit Against Public Participation
Authors: วรรณวิภา เมืองถ้ำ
กฤตนันทน์ เตนากุล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ผู้แจ้งเบาะแส
การแจ้งเบาะแส--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทุจริต แนวคิดการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต และแนวคิดการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ (2) เพื่อศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสจากการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ (3) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายในคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสจากการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ และ (4) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสจากการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์สำหรับประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาและรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการและแหล่งข้อมูลออนไลน์ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเพื่อนำใช้เป็นแนวทางในการเสนอแนะในประเด็นที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัญหาการทุจริตนั้นถือเป็นปัญหาที่สำคัญของประเทศไทย โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนในลักษณะการแจ้งเบาะแสหรือการแสดงความเห็นเกี่ยวกับการทุจริตถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่ง ในขณะที่บุคคลดังกล่าวอาจถูกดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อลดโอกาสและแรงจูงใจที่ประชาชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในการตรวจสอบภาครัฐ (2) ประเทศไทยนั้นได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต โดยกำหนดไว้ตั้งแต่ในระดับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แต่ก็ยังมีช่องโหว่ของกระบวนการให้เกิดการฟ้องร้องคดีโดยเฉพาะความผิดฐานหมิ่นประมาทต่อผู้แจ้งเบาะแสการทุจริต (3) ในประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ และเครือรัฐออสเตรเลียนั้นก็ได้ให้ความสำคัญกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นในประเด็นสาธารณะอย่างมาก และมีการคุ้มครองอย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดบทบัญญัติเฉพาะเพื่อคุ้มครองผู้ที่แสดงความเห็นเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์สาธารณะจากดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ (4) จากการวิเคราะห์ข้อมูลมีข้อเสนอว่า ควรมีบทบัญญัติยกเว้นความรับผิดของผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตให้ชัดเจน โดยเฉพาะความผิดฐานหมิ่นประมาท และเพิ่มบทบัญญัติเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตหรือใช้เสรีภาพในการแสดงความเห็นให้ได้รับความคุ้มครองจากการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนรวมไปถึง มาตรการเสริมอื่น ๆ ซึ่งจะทำให้การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตจากการดำเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์ของประเทศไทยมีทิศทางที่ดีขึ้นได้ต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13918
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.61 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons