กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13922
ชื่อเรื่อง: | มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมกัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal measures to control marijuana and marijuana-derived products |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปัณณวิช ทัพภวิมล กันยา นิคนธา, 2529- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี กัญชา--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2565 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความหมาย แนวคิด ทฤษฎี และหลักการที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการควบคุมกัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชา (2) ศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการควบคุมกัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชา ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาและเปรียบเทียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการควบคุมกัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชา และ (4) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับมาตรการในการควบคุมกัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชาในประเทศไทย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสาร ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง รวมถึงหนังสือ บทความทางวิชาการ วารสาร ผลงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อนำมารวบรวมและวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ เพื่อทำการศึกษาหาข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) ประเทศไทยได้ถอดพืชกัญชาจากการเป็นยาเสพติดประเภท 5 (2) ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการควบคุมการจำหน่าย การบริโภคพืชกัญชา (3) ประเทศไทยยังขาดมาตรการควบคุมกัญชาและผลิตภัณฑ์ที่มาจากการกัญชา เช่น การโฆษณา หลักเกณฑ์การบรรจุหีบห่อ การกำหนดเขตหรือบริเวณห้ามจำหน่าย การกำหนดเขตหรือบริเวณเสพกัญชาหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชา การจำกัดอายุ แต่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศแคนาดาและสหรัฐอเมริกาแล้ว มีการกำหนดห้ามโฆษณาซึ่งมีลักษณะที่เป็นเท็จ ทำให้หลงเข้าใจผิดหรือหลอกลวงซึ่งคุณลักษณะที่แท้จริงของกัญชา หรือโฆษณาที่เป็นการดึงดูดเยาวชน มีการกำหนดให้หีบห่อกัญชาจะต้องไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าดึงดูดเยาวชนและต้องกำหนดข้อเท็จจริงทางคุณลักษณะของกัญชาภายในหีบห่อ มีการกำหนดห้ามจำหน่ายหรือเสพกัญชาในสถานศึกษา สถานพยาบาลสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง หอพัก สถานที่ราชการ สวนสาธารณะ วัด เป็นต้น นอกจากนี้ประเทศแคนาดายังกำหนดให้ผู้ซื้อต้องแสดงบัตรประชาชน และกำหนดมิให้ผู้ขับขี่พกพากัญชาหรือเสพกัญชาขณะขับขี่ยานพาหนะ ส่วนสหรัฐอเมริกามีการกำหนดห้ามจำหน่ายกัญชาหรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากกัญชาโดยใช้เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ (4) เสนอแนะให้มีการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการจำหน่าย การบริโภคพืชกัญชาเป็นการเฉพาะ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13922 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License