Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13926
Title: | การสอบสวนคดีอาญา ศึกษาการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพในประเทศไทย |
Other Titles: | Criminal case’s investigation on the study of the crime scene reconstruction by the accused to support confession of the accused in Thailand |
Authors: | อาจารี มีอินทร์เกิด มีสิทธิ์ ธีร์รัฐ โรจนธนินพงศ์, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี แผนประทุษกรรม--ไทย การสืบสวนอาชญากรรม การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
Issue Date: | 2564 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและหลักการพื้นฐานเกี่ยวกับการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ (2) ศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพในประเทศไทย (3) ศึกษาวิเคราะห์ปัญหากระบวนการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพในประเทศไทย (4) ศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบหลักการที่เกี่ยวข้องกับการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพของต่างประเทศและประเทศไทย และเสนอแนวทางการแก้ไข การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการวิจัยเอกสารจากตัวบทกฎหมาย ตำราทางวิชาการ งานวิจัย คำพิพากษาศาลฎีกา บทความจากวารสารหรือนิตยสารทางกฎหมาย ข้อมูลจากเว็บไซต์ทางอินเตอร์เน็ตและของต่างประเทศเกี่ยวกับการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ เช่น ประเทศสหราชอาณาจักร ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัญหา เปรียบเทียบ สรุปและข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาพบว่า (1) วัตถุประสงค์ของการดำเนินคดีอาญาก็เพื่อค้นหาความจริงให้ได้สมบูรณ์ที่สุด ซึ่งการยอมรับสารภาพถือเป็นพยานหลักฐานที่ดีในการพิสูจน์ความจริง จึงมีการนำวิธีการที่เรียกว่าแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพมาบังคับใช้กับผู้ถูกกล่าวหา โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาจำลองสถานการณ์ในการกระทำความผิดโดยนำตัวผู้ถูกกล่าวหาไปชี้สถานที่เกิดเหตุและแสดงขั้นตอนในการกระทำความผิดต่าง ๆ ต่อหน้าสาธารณชน อันเป็นการละเมิดต่อสิทธิเสรีภาพที่คุ้มครองผู้ถูกกล่าวหาตามแนวคิดและหลักการของกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญของไทย (2) เมื่อมีการจัดทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพ อาจผลกระทบแบ่งพิจารณาได้ 2 กรณี ผลกระทบต่อตัวผู้ถูกกล่าวหาเอง และผลกระทบที่เกิดกับบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลกระทบต่อชีวิตและร่างกาย การนำตัวผู้ต้องหาไปทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพนั้นไม่ได้ให้ความสำคัญต่อการคุ้มครองความปลอดภัยให้กับผู้ต้องหาอย่างเต็มที่ อาจทำให้ผู้ต้องหาถูกประชาชนซึ่งอาจจะเป็นญาติพี่น้องของผู้เสียหายรุมประชาทัณฑ์เพราะสาเหตุที่มีความโกรธแค้น (3) จากการวิเคราะห์หลักการและผลกระทบของการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพมีผลเสียมากกว่าผลดี อีกทั้งมีผลกระทบในหลายฝ่าย จึงเห็นว่าควรจะยกเลิกการทำแผนประทุษกรรมประกอบคำรับสารภาพแบบเดิมออกจากกระบวนการทางอาญา (4) เห็นควรนำกระบวนการในการยอมรับคำรับสารภาพโดยจัดทำให้ห้องสอบสวนที่ถูกจัดขึ้นไว้โดยเฉพาะตามแบบของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อจะทำให้เกิดความยุติธรรมในหลายฝ่ายและธำรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิของกฎหมายไทย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13926 |
Appears in Collections: | Law-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 10.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License