กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13928
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสราวุธ ปิติยาศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorเสาวนีย์ ศรีภูไฟ, 2521-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.date.accessioned2025-04-02T06:52:29Z-
dc.date.available2025-04-02T06:52:29Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13928en_US
dc.description.abstractการศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ลักษณะของคดีภาษีอากร ขั้นตอนการดำเนินคดีและอำนาจตามกฎหมายของกรมสรรพากรในการดำเนินคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญา (2) ศึกษากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาของไทยเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา (3) ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าหน้าที่สรรพากรและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นฝ่ายปกครองในการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญา และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการสอบสวนในชั้นก่อนฟ้องคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาตามประมวลรัษฎากร การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ตลอดจนศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากกฎ ระเบียบ หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ กฎหมายต่างประเทศและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการดำเนินคดีอาญาของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรมิได้มุ่งประสงค์ลงโทษผู้กระทำความผิดเหมือนอาญาทั่วไป แต่สภาพบังคับทางอาญาของภาษีอากรต้องการเพียงการป้องปรามมิให้มีการกระทำความผิดอาญาเกี่ยวเนื่องภาษีอากรเกิดขึ้นซ้ำอีก เป็นการควบคุมรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง (2) กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาของไทยเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนซึ่งแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่พิเศษของกรมสรรพากรในการสอบสวนคดีภาษีอากร (3) ปัญหาการไม่มีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำความผิดและการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาตามประมวลรัษฎากรของเจ้าหน้าที่สรรพากร ทำให้คดีมีความล่าช้า กระบวนการสอบสวนคดีขาดประสิทธิภาพ และบางครั้งไม่อาจนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ (4) วิธีการแก้ไขปัญหาจึงให้มีการร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีภาษีอากรฝ่ายสรรพากรเพื่อเป็นการแก้ไขข้อจำกัดและเพิ่มอำนาจการสอบสวนคดีอาญาตามประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมผู้กระทำความผิด การสอบสวนคดี และการแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณีth_TH
dc.subjectภาษี--คดีth_TH
dc.subjectอากร--คดีth_TH
dc.subjectการศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรมth_TH
dc.titleการเพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่สรรพากรเป็นพนักงานสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาth_TH
dc.title.alternativeEmpowering tax authority by appointing officers of Revenue Department as Inquiry officers in criminal tax casesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThis independent study aimed to (1) study ideas, theories, and characteristics of tax cases, criminal prosecution process, and legal authorities of Revenue Department to proceed criminal tax cases,(2) study the judicial process in investigating criminal tax cases in Thailand and United State of America comparatively,(3) analyze the problems regarding legal power of Revenue Department and criminal justice process of administration in investigating criminal tax cases, and (4) propose the resolution to problems on process of investigation prior to litigation of criminal tax cases stated by the Revenue Code. This independent study is documentary research, conducted by studying the relevant statutes, namely the Criminal Procedure Code, the Revenue Code, the Excise Act B.E. 2560 and the Customs Act B.E. 2560. Other appropriate rules, regulations, books, articles, academic papers, theses, foreign laws, and electronic information are also included in this study. The study showed that (1) unlike the general criminal prosecution, the criminal prosecution of criminal tax cases does not have the punishment objective and the criminal sanction of tax crimes is only a measure to prevent repeated tax crimes and maintain public order, (2) in the Thai criminal justice process of tax cases, inquiry officials hold the investigating authority, whereas in the US, the Internal Revenue Service has the power to investigate criminal tax cases, (3) tax authorities do not have the power to arrest tax offenders and investigate criminal tax cases stated by the Revenue Code, which lead to the delay of cases, inefficiency of investigation, and inability to sentence offenders in some cases, and (4) to resolve these problems, the law on proceeding criminal justice process of criminal tax cases by tax authorities should be specifically drafted and propose to amend the limitations in applicable laws and regulate the power for tax authorities to proceed criminal tax cases stated by Revenue Code, which includes the power to arrest tax offenders, the power to investigate criminal tax cases and the power to oppose non-prosecution order of public prosecutors.en_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons