กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13928
ชื่อเรื่อง: | การเพิ่มอำนาจเจ้าหน้าที่สรรพากรเป็นพนักงานสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Empowering tax authority by appointing officers of Revenue Department as Inquiry officers in criminal tax cases |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สราวุธ ปิติยาศักดิ์ เสาวนีย์ ศรีภูไฟ, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี ภาษี--คดี อากร--คดี การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี ลักษณะของคดีภาษีอากร ขั้นตอนการดำเนินคดีและอำนาจตามกฎหมายของกรมสรรพากรในการดำเนินคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญา (2) ศึกษากระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาของไทยเปรียบเทียบกับสหรัฐอเมริกา (3) ศึกษา วิเคราะห์สภาพปัญหาเกี่ยวกับอำนาจของเจ้าหน้าที่สรรพากรและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในชั้นฝ่ายปกครองในการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญา และ (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการสอบสวนในชั้นก่อนฟ้องคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาตามประมวลรัษฎากร การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการศึกษาแบบวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาตัวบทกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประมวลรัษฎากร พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2560 พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ตลอดจนศึกษาค้นคว้ารวบรวมข้อมูลจากกฎ ระเบียบ หนังสือ บทความ เอกสารทางวิชาการ วิทยานิพนธ์ กฎหมายต่างประเทศและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ผลการศึกษาพบว่า (1) แนวคิดในการดำเนินคดีอาญาของผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับภาษีอากรมิได้มุ่งประสงค์ลงโทษผู้กระทำความผิดเหมือนอาญาทั่วไป แต่สภาพบังคับทางอาญาของภาษีอากรต้องการเพียงการป้องปรามมิให้มีการกระทำความผิดอาญาเกี่ยวเนื่องภาษีอากรเกิดขึ้นซ้ำอีก เป็นการควบคุมรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง (2) กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาของไทยเป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนซึ่งแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่พิเศษของกรมสรรพากรในการสอบสวนคดีภาษีอากร (3) ปัญหาการไม่มีอำนาจในการจับกุมผู้กระทำความผิดและการสอบสวนคดีภาษีอากรที่มีโทษทางอาญาตามประมวลรัษฎากรของเจ้าหน้าที่สรรพากร ทำให้คดีมีความล่าช้า กระบวนการสอบสวนคดีขาดประสิทธิภาพ และบางครั้งไม่อาจนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษได้ (4) วิธีการแก้ไขปัญหาจึงให้มีการร่างพระราชบัญญัติการสอบสวนคดีภาษีอากรฝ่ายสรรพากรเพื่อเป็นการแก้ไขข้อจำกัดและเพิ่มอำนาจการสอบสวนคดีอาญาตามประมวลรัษฎากร ไม่ว่าจะเป็นการจับกุมผู้กระทำความผิด การสอบสวนคดี และการแย้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13928 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 9.89 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License