Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13929
Title: ปัญหาเกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา
Other Titles: Problems of petty offenses under the Criminal Code
Authors: ปัณณวิช ทัพภวิมล
ปรินทร์ เหมือนพงษ์, 2539-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--การศึกษาเฉพาะกรณี
ความผิดลหุโทษ
กฎหมายอาญา
การศึกษาอิสระ--กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม
Issue Date: 2565
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความเป็นมา หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญา (2) ศึกษาหลักเกณฑ์เกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย สาธารณรัฐฝรั่งเศส และสหรัฐอเมริกา (3) วิเคราะห์เปรียบเทียบปัญหาเกี่ยวกับความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยกับความผิดลหุโทษของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา และ (4) เสนอแนะแนวทางปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องที่เกี่ยวกับความผิดลหุโทษ ของประเทศไทยให้เกิดความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทันต่อยุคสมัย และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีศึกษาวิจัยเอกสารจากหนังสือ ตำรา บทความ คำพิพากษาของศาลฎีกา ตัวบทกฎหมาย วารสารกฎหมาย เอกสารทางวิชาการ หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ และข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยทำการนำข้อมูลที่ได้จากเอกสาร มารวบรวมและวิเคราะห์เพื่อเป็นข้อเสนอแนะต่อไป ผลการศึกษาพบว่า (1) ความผิดลหุโทษเป็นความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกระยะสั้นจึงไม่สอดคล้องกับหลักการดำเนินกระบวนการยุติธรรมสมัยใหม่และทฤษฎีการลงโทษเพื่อการแก้ไขฟื้นฟู และความผิดลหุโทษบางฐานมีความซํ้าซ้อนกับความผิดอาญาตามกฎหมายเฉพาะอื่นๆ จนทำให้เกิดปัญหากฎหมายอาญาเฟ้อ นอกจากนี้ ความผิดลหุโทษฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393 ก็ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ ทั้งๆ ที่มีอยู่ในหลักเกณฑ์ที่สมควรจะกำหนดให้เป็นความผิดอันยอมความได้ (2) ความผิดลหุโทษของประเทศไทยและสหรัฐอเมริกามีอัตราโทษจำคุก แต่สาธารณรัฐฝรั่งเศสไม่มีอัตราโทษจำคุก และประเทศไทยมีทั้งความผิดอาญาแผ่นดินและความผิดอันยอมความได้ แต่ความผิดลหุโทษทุกมาตราเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ส่วนสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาไม่มีความผิดใดเลยเป็นความผิดอันยอมความได้ (3) จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบพบว่า ประเทศไทยควรยกเลิกอัตราโทษจำคุกสำหรับความผิดลหุโทษเช่นเดียวกับสาธารณรัฐฝรั่งเศสแล้วคงไว้แต่อัตราโทษปรับเท่านั้น และควรยกเลิกบทบัญญัติความผิดลหุโทษที่มีความซํ้าซ้อนกับความผิดอาญาตามกฎหมายเฉพาะ นอกจากนี้ ควรกำหนดให้ความผิดฐานดูหมิ่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณาตามมาตรา 393 เป็นความผิดอันยอมความได้ (4) ผู้ศึกษาจึงขอเสนอให้ยกเลิกอัตราโทษจำคุกสำหรับความผิดลหุโทษทุกมาตรา ยกเลิกความผิดลหุโทษมาตรา 381, 382 และ 396 และแก้ไขเพิ่มเติมให้ความผิดลหุโทษมาตรา 393 ให้เป็นความผิดอันยอมความได้ จะส่งผลให้บทบัญญัติความผิดลหุโทษตามประมวลกฎหมายอาญาเกิดความเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ทันต่อยุคสมัย และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13929
Appears in Collections:Law-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม20.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons