กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13931
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียและผลกระทบของร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัด คนเดียว พ.ศ. ..... ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี และประเทศจีน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of advantages, disadvantages and impacts of the draft of the Single Limited Company Act B.E. ..... of Thailand compared to Britain, Germany and China
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สาธิตา วิมลคุณารักษ์
วริญชย์ปวีร์ ชื่นเจริญ, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--การศึกษาเฉพาะกรณี
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์--บริษัทจำกัด
การศึกษาอิสระ--กฎหมายมหาชน
วันที่เผยแพร่: 2565
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงแนวคิด ทฤษฎี และวิวัฒนาการของการจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียว (2) ศึกษากฎหมายตามร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดคนเดียว โดยศึกษาเปรียบเทียบกับบทบัญญัติของกฎหมายไทยกับกฎหมายบริษัทของประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี และประเทศจีน (3) นำเสนอข้อดีและข้อเสีย ตามร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดคนเดียว พ.ศ. .... (4) เสนอแนะแนวทางแก้ไขกฎหมาย เพื่อรองรับการจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียวหากมีการประกาศให้ร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดคนเดียว พ.ศ ..... มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยจากเอกสารทางวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศจากหนังสือ วารสารด้านนิติศาสตร์ บทความทางวิชาการ และแนวคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาศาลฎีกาที่ได้เคยวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวไว้เกี่ยวกับแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการร่างกฎหมายและหลักการในการวิเคราะห์ผลกระทบในการออกกฎหมาย เปรียบเทียบกฎหมายบริษัทจำกัดคนเดียวระหว่างประเทศไทย กับกฎหมายบริษัทเอกชนจำกัดของประเทศอังกฤษ กับประเทศเยอรมนี และประเทศจีน ผลการวิจัยพบว่า (1) ร่างพระราชบัญญัติบริษัทจำกัดคนเดียว พ.ศ. .... ของประเทศไทย มีความจำเป็นต้องตรากฎหมายขึ้นใหม่ เพื่อจะเป็นกฎหมายรองรับและกำกับดูแลองค์กรธุรกิจประเภทใหม่ที่จัดตั้งโดยบุคคลธรรมดาคนเดียวที่รับผิดจำกัด สามารถแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ไม่รองรับได้ เหมาะสำหรับการประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อันเป็นรากฐานที่สำคัญในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ สามารถส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจนำไปสู่การสร้างผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็งและมีศักยภาพ แต่ทั้งนี้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความบกพร่อง บางบทบัญญัติยังไม่เหมาะสม หรือไม่มีบทบัญญัติไว้อย่างกรณีเจ้าของทุนถูกฟ้องล้มละลายที่จะมีผลต่อสภาพนิติบุคคลของบริษัทฯ หรือไม่ หรือกรณีการเงินของบริษัทที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ จำนวนเท่าใด จึงได้รับการยกเว้นไม่ต้องรับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต อีกทั้งยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาผู้ถือหุ้นเทียมได้จริง (2) กรณีไม่อนุญาตให้นิติบุคคลจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียวก็แตกต่างจากกฎหมายบริษัทเอกชนของประเทศอังกฤษ ประเทศเยอรมนี และประเทศจีน อาจทำให้ประเทศไทยขาดเงินทุนและเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากนักลงทุนที่เป็นนิติบุคคลได้ (3) มีความจำเป็นต้องวิเคราะห์ถึงข้อดีและข้อเสียของการร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ (4) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขให้กฎหมายฉบับนี้ให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา และส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้จริงต่อไป อาทิเช่น ควรกำหนดทุนจดทะเบียนขั้นสูงของบริษัทจำกัดคนเดียวไว้ไม่เกินขนาดของกิจการของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และควรกำหนดให้ผู้ตรวจสอบบัญชีภาษีอากรเป็นผู้ตรวจสอบและแสดงความเห็นในงบการเงินของบริษัท
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/13931
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม32.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons