กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1396
ชื่อเรื่อง: ความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ บ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The strength of Farmers Group in Large Agricultural Land Plot Extension System in Ban Nonkrasung Krabuangyai Sub-District, Phimai District, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกษศริน รอดศรี, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร (2) สภาพการผลิตข้าวของสมาชิกกลุ่มเกษตรกร (3) สภาพการส่งเสริมการผลิตข้าวของกลุ่มเกษตรกร (4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่บ้านโนนกระสัง (5) ความคิดเห็นที่มีต่อความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร 6) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ วิธีดำเนินการวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มนาแปลงใหญ่บ้านโนนกระสัง ตำบลกระเบื้องใหญ่ อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 151 ราย ซึ่งใช้สูตรการหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของ Yamane (1973) จำนวน 110 โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งมีลักษณะคำถามเป็นแบบปลายปิดและปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการแปลความหมายตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 65.5 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 51.60 ปี เกินครึ่งจบประถมศึกษา จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.58 คน จำนวนแรงงานภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.57 คน ร้อยละ 92.7 เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกร/กลุ่มอาชีพเกษตรกร ร้อยละ 90.0 ประกอบอาชีพทางการเกษตรเป็นอาชีพหลัก ร้อยละ 72.7 รับจ้างทางการเกษตรเป็นอาชีพรอง (2) เกษตรกรร้อยละ 65.5 มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นของตนเอง พื้นที่ถือครองทางการเกษตรเฉลี่ย 28.67 ไร่ นำเข้าร่วมโครงการแปลงใหญ่เฉลี่ย 26.36 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 481.82 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 3,716.16 บาทต่อไร่ ร้อยละ 77.27 จำหน่ายผลผลิตแก่สหกรณ์การเกษตร (3) เกษตรกรได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคลมากที่สุด โดยรับจากเจ้าหน้าที่ภาครัฐและประธานกรรมการกลุ่มในระดับมากที่สุด ได้รับการส่งเสริมด้านการลดต้นทุนในระดับมากและต้องการได้รับการส่งเสริมในด้านการเชื่อมโยงตลาดมากที่สุดในระดับมาก (4) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงานของกลุ่มเกษตรกรทั้งหมด เห็นว่ามีการดำเนินงานทุกด้านทั้งในด้านการบริหารกลุ่มการเรียนรู้พัฒนาสมาชิกการตลาดและการจัดการเงินทุนกลุ่ม (5) ความคิดเห็นที่มีต่อความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร เห็นว่ากลุ่มมีความเข้มแข็งในด้านกรรมการ/สมาชิกด้านการประเมินผลลัพธ์ในการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและด้านการผลิตข้าวแบบแปลงใหญ่ในระดับปานกลาง (6) เกษตรกรมีปัญหาในด้านการตลาดในระดับปานกลาง โดยต้องการเชื่อมโยงกับตลาดและการเพิ่มช่องทางการจำหน่ายมากที่สุด
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1396
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_160953.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.85 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons