Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1429
Title: การเสริมสร้างทัศนคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน
Other Titles: Enhancement of attitude towards learning and learning achievement via Integration of interactive lecturing and team-based learning
Authors: เมทินี ทะนงกิจ
Keywords: การเรียนการสอน
Issue Date: 2560
Publisher: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Citation: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2560), หน้า 178-190
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้างทัศนติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการบูรฌาการรูปแบบการเรียนรู้โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของการเสริมสร้างทัศนคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ที่มเป็นฐานกับรูปแบบการเรียนรู้โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วมเพียงอย่างเดียวกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ และคณะนวัดกรรมสื่อสารสังคมที่เรียนราวิชาจิตวิทยาสังคม หมวดวิชาสึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 158 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 71 คน และกลุ่มควบคุม 87 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการเรียนการสอนและคู่มือการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทัศนคติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการบูรณาการรูปแบบกรเรีนรู้โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐาน 2) แผนการเรียนการสอนและคู่มือการจัดการเรียนรู้โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วม 3) แบบประเมินทัศนคติต่อการเรียน และ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทำการวิเคราะห์ ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 การหาค่าคะแนนเฉลี่ย และการทดสอบค่าที่ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) รูปแบบการเสริมสร้างทัศนติต่อการเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยการบูรณาการรูปแบบการเรียนรู้โดยการบรรยายแบบมีส่วนร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ทีมเป็นฐานของผู้เรียนในรายวิชาจิตวิทยาสังคม มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 8080 2) กลุ่มทดลองมีทัศนคติต่อการเรียนต่ำกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนได้รับการจัดกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีทัศนคติต่อการเรียนไม่แตกต่างกัน แต่กลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1429
ISSN: 1905-4653
Appears in Collections:STOU Education Journal

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
44373.pdfเอกสารฉบับเต็ม431.71 kBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons