กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1430
ชื่อเรื่อง: การปรับตัวทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิม ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Cultural adaptation affecting a sense of coherence of the Muslim Undergraduate Students in Songkhla Rajabhat University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไหมไทย ไชยพันธุ์
จิระสุข สุขสวัสดิ์
คำสำคัญ: นักศึกษา -- การปรับตัว
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แหล่งอ้างอิง: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2560), หน้า 191-213
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวทางวัฒนธรรมกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลาและ 2) ศึกษาการปรับตัวทางวัฒนธรรมที่สามารถทำนายแนวโน้มความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษามุสลิมที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชกัฎสงขลาจำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการใช้ภาษามีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ -16 การปรับตัวทางวัฒนธรรมค้านการแต่งกาย การปรับตัวทางวัฒนธรรมค้านการปฏิบัติศาสนกิจ การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการ บริ โภคอาหาร และการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการถือศีลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิต มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ .14, . 20 ,.13และ .34 ตามลำดับอย่างมีนัขสำคัญทางสถิติที่ระดับ .0ร การปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านสังคม และการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้านการทักทายและการทำความเคารพ ไม่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตตัวพยากรณ์ที่ดีที่สามารถทำนายความรู้สึกสอดคล้องกลมกลืนในชีวิตของนักศึกษามุสลิมระดับปริญญาตรี คือ ตัวแปรการปรับตัวทางวัฒนธรรมด้นการถือศีลอด มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร เท่ากับ .26 และตัวแปรการปรับตัวทางวัฒนธรรมค้านการใช้ภาษามีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวแปร เท่ากับ -06
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1430
ISSN: 1905-4653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:STOU Education Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
44374.pdfเอกสารฉบับเต็ม602.75 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons