กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1433
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่อง การวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of a distance training package on measurement and evaluation of science process skills for secondary school science teachers, Nonthaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดวงเดือน พินสุวรรณ์
คำสำคัญ: การวัดผลทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
แหล่งอ้างอิง: วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 10, ฉบับที่ 1 (ม.ค.- มิ.ย. 2560), หน้า 239-255
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี (2) เปรียบเทียบความสามารถค้นการวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลสำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี และ (3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกลเรื่อง การวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นรู้วิทยาศาสตร์ระดับมัฐยมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดนนทบุรี จำนวน 30 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) ชุดฝึกอบรมทางไกล (2) แบบทดสอบวัดความสามารถเกี่ยวกับการ วัดและประเมินผลทักษะกระขวนการทางวิทยาศาสตร์ และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการวิจัยปรากฎว่า (1) ชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาจังหวัดนนทบุรี มีขั้นตอนในการพัฒนา 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1.1) กำหนดจุดประสงค์ของชุดฝึกอบรมทางไกล (1.2) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (1.3) สร้างชุดฝึกอบรมทางไกล (1.4) ตรวจสอบคุณภาพชุดฝึกอบรมทางไกล (1.5) ทคลองใช้และวิเคราะห์ผลการใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล และ (1.6) ปรับปรุงชุดฝึกอบรมทางใกล ซึ่งประกอบวย เอกสารชุดฝึกอบรมทางไกล และเอกสารประกอบการ ใช้ชุดฝึกอบรมทางไกล ชุดฝึกอบรมทางไกลมีประสิทธิภาพ 80.98 / 79.09 (2) กลุ่มตัวอย่างมีความสามารถด้านการวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลสูงกว่าก่อนใช้ชุดฝึกอบรมทางไกลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษามีความพึงพอใจต่อชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง การวัดและประเมินผลทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1433
ISSN: 1905-4653
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:STOU Education Journal

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
44377.pdfเอกสารฉบับเต็ม288.59 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons