Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1444
Title: | โมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพสถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ |
Other Titles: | Professional farmer development model in Northeastern Vocational Agriculture Institute Thailand |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา สมจิต โยธะคง, อาจารย์ที่ปรึกษา อรัญ สิงห์คำ, 2503- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร --วิทยานิพนธ์ การพัฒนาการเกษตร--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) วิทยาลัยเกษตรกรรม--การศึกษาและการสอน--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความคิดเห็นของผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร ต่อปัจจัยการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ (2) วิเคราะห์และสังเคราะห์คุณลักษณะของเกษตรกรมืออาชีพ (3) วิเคราะห์และพัฒนาโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ (4) เพื่อทดลองใช้โมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ และ (5) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้สอนและผู้เรียนต่อโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ ประชากร คือ (1) ผู้เรียนโครงการอาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท (อศ.กช) สถาบันการอาชีวศึกษาเกษตรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 1,480 คน สุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน แบบเจาะจง (2) ผู้สอน จำนวน 100 คน สุ่มแบบเจาะจง จำนวน 50 คน (3) ผู้บริหาร จำนวน 30 คน เก็บจากประชากรทั้งหมด ได้แก่ ผู้อำนวยการวิทยาลัย จำนวน 10 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ จำนวน 10 คน และหัวหน้าโครงการ อาชีวศึกษาเพื่อพัฒนาชนบท จำนวน 10 คน และ (4) เกษตรกรต้นแบบ จำนวน 10 คน คัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์โดยสถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที-เทส ผลการวิจัยพบว่า (1) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ ผู้สอนจะต้องสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องมีการทำแผนชีวิต มีเนื้อหาการเรียนรู้ทันสมัย สื่อการเรียนรู้สำคัญ คือ ฟาร์มภายในวิทยาลัย (2) การเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรต้นแบบ เกิดจากแรงจูงใจและมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ มีความรู้และทักษะในการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มผลผลิตและมูลค่าผลผลิต ส่วนคุณลักษณะของเกษตรกรมืออาชีพ คือ มีความรู้ ทักษะในสาขาอาชีพ มีทักษะในการสื่อสารกับบุคคลอื่น มีทักษะในการดำรงตนตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (3) โมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพ ประกอบด้วยการพัฒนา 6 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์อาชีพ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนรู้ การเตรียมผู้สอน การจัดการเรียนรู้โดยยึดอาชีพเป็นฐาน และขั้นตอนการพัฒนา (4) ความคิดเห็นของผู้เรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองใช้โมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพมีความแตกต่างกันทางสถิติที่ระดับ 0.05 (5) ความคิดเห็นของผู้สอนกับผู้เรียนต่อโมเดลการพัฒนาเกษตรกรมืออาชีพมีความแตกต่างกันทางสถิติ |
Description: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1444 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_162524.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 31.24 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License