กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1445
ชื่อเรื่อง: โมเดลการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรตามบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension workers development model for role in community enterprises extension and development
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
รุจ ศิริสัญลักษณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัตฐา พลเสน, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
นักส่งเสริมการเกษตร
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: วัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานของนักส่งเสริมการเกษตรในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน (2) วิเคราะห์บทบาทนักส่งเสริมการเกษตร (3) สังเคราะห์บทบาทนักส่งเสริมการเกษตร และ (4) พัฒนาโมเดลการพัฒนานักส่งเสรีมการเกษตรตามบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ นักส่งเสริมการเกษตรสังกัด กรมส่งเสริมการเกษตร ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ในระดับอำเภอของพื้นที่เขตภาคตะวันตก 8 จังหวัด จำนวน 334 คนผู้บังคับบัญชานักส่งเสริมการเกษตร 62 คน และเกษตรกรสมาชิกวิสาหกิจชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ปี 2559 และ2560 ของ 8 จังหวัคในเขตภาคตะวันคก กลุ่มตัวอย่าง ได้แเก่ นักส่งเสริมการเกบตร จำนวน 182 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) และเกษตรกร ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเกษตรกรที่เป็นประธาน รองประธาน เลขา เหรัญญิก และปฏิคม รวมทั้งสิ้น 80 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดย สอบถามสัมภาษณ์ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโคยใช้สถิติเชิงพรรณนา และทดสอบค่า t-test และ Factor Analysis ทดสอบสมมติฐาน โดย Multiple regression analysis และ Pearson Correlation-Coefficient วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดย Content Analysis ผลการศึกษา พบว่า (1) นักส่งเสริมการเกษตรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 44 ปี สถานภาพสมรสส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี สาขาเกษตรศาสตร์ (ด้านพืช) ประสบการณ์ในการทำงานเฉลี่ย 17 ปี ระดับรายได้เฉลี่ย 29,513 บาท รายได้อื่นๆ เฉลี่ย 1,386 บาท ภาวะหนี้สินเฉลี่ย 397,728 บาท แรงจูงใจในการปฏิบัติึงานตามบทบาทโดยรวมระคับมาก (x̄=3.51) และการสนับสนุนจากองค์กรโดยรวมระดับปานกลาง (x̄=2.85) (2) การปฏิบัติงานศามบทบาทนักส่งเสริมการเกษตร โดยรวมระคับปานกลาง (x̄=3.36) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การสนับสนุนจากองค์กร (ค้านงบประมาณ ค้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านการบริหารจัดการ) และบทบาทที่คาดหวังบีความสัมพันธ์เชิงบวกกับบทบาทนักส่งเสริมการเกษตรในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (3) จัดกลุ่มบทบาทใหม่ในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน โดย Factor Analysis มี 3 บทบาท คือ บทบาทผู้แนะนำการเปลี่ยนแปลง บทบาทนักเผยแพร่วิชาการ และบทบาทนักเสริมสร้างองค์กร (4) โมเคลการพัฒนานักส่งเสริมการเกษตรตามบทบาทในการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ การพัฒนาด้วยตนเอง โดยใช้วิธีการปรับ mindset การพัฒนาจากระบบบริหารองค์การซึ่งต้องพัฒนาใน 3 ส่วนคือสภาพแวดล้อมบุคลากร ความผูกพันของบุคลากรและการพัฒนาบุคลากรและผู้นำ และการพัฒนาด้วยระบบการจัดการศึกษาซึ่งต้องพัฒนา 3 ระยะ คือ ก่อนการปฏิบัติงาน ขณะปฏิบัติงานและหลังการปฏิบัติงาน
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (เกษตรศาสตร์และสหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1445
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_160915.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.74 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons