Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1449
Title: | การยอมรับเทคโนโลยีการปลูกถั่วเหลืองของเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Adoption of soybean production technology by farmers in the large agriculture land plot in Mae Taeng District, Chiang Mai Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา เยาวลักษณ์ วิริยะ, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ ถั่วเหลือง--การปลูก เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย การส่งเสริมการเกษตร |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรร้อยละ 74.8 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 58.87 ปี ร้อยละ 90.9 มีสถานภาพ สมรส ร้อยละ 83.2 มีระดับการศึกษาประถมศึกษา จํานวนสมาชิกในครัวเรือน เฉลี่ย 4.07 คน จํานวนสมาชิกใน ครัวเรือนที่ช่วยทําการเกษตรเฉลี่ย 2.17 คน มีพืนที่คือครองเฉลี่ย 5.13 ไร่ รายได้เฉลี่ยต่อปี 39,185.11 บาท รายได้ ภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อปี 37,110.74 บาท รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ยต่อปี 17,037.52 บาท พื้นที่ปลูกถั่วเหลือง เฉลี่ย 5.04 ไร่ พื้นที่ปลูกถั่วเหลืองของตนเองเฉลี่ย 3.40 ไร่ ต้นทุนเฉลี่ยต่อปี 3,479.69บาท เกษตรกรมีผลผลิต เฉลี่ย 320.45 กก. ร้อยละ 38.5 มีแหล่งสินเชื่อจาก สหกรณ์การเกษตร ประสบการณ์การปลูกถั่วเหลืองของ เกษตรกรเฉลี่ย 15.80 ปี ร้อยละ 48.7 เป็นคณะกรรมการกลุ่มอาชีพ และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกเกษตรกร รวมถึงมี การเข้าร่วมประชุม ฝึกอบรม สัมมนาและดูงาน 2) ความรู้และแหล่งความรู้ที่ได้รับเกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการ ปลูกถั่วเหลืองในระดับปานกลางและเกษตรกรได้รับความรู้จากแหล่งต่างๆ ในระดับน้อย 3) เกษตรกรยอมรับใน เทคโนโลยีการปลูกถั่วเหลืองและนําไปปฏิบัติในระดับมาก เช่น ในสภาพนาปรับพื้นที่ให้เรียบสมํ่าเสมอ ตัดตอ ซังข้าวทิ้งไว้ในแปลงนา ขุดร่องนํ้ารอบและผ่านแปลงนาก่อนปลูก 2 วัน ปล่อยนํ้าเข้าท่วมแปลงประมาณครึ่งวัน จึงระบายนํ้าออก หยอดเมล็ดหลุมละ 4-5 เมล็ด ลึก 3-4 ซม. ระยะห่างหลุม 20 ซม.ระหว่างแถว 50 ซม. 4) ปัญหา ของการปลูกถั่วเหลืองของเกษตรกรในระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่ มากกว่าข้ออื่นๆ ได้แก่ ปุ๋ยและสารเคมีมีราคาแพง การระบาดของโรคและแมลง 5) เกษตรกรมีข้อเสนอแนะ คือ การนําเทคโนโลยีที่ทันสมัยและเหมาะสมมาส่งเสริมเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต มีตลาดรองรับผลผลิตและด้าน ราคา และให้เจ้าหน้าที่ให้คําปรึกษาการปลูกถั่วเหลืองอย่างใกล้ชิด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1449 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159590.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License