กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1453
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ ของสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 5
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An approach to extension and development of community enterprise in area of responsibility of Office of Agricultural Extension and Development, Region 5
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อาทิตยา จันทิตย์, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน--ไทย
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สภาพเศรษฐกิจและสังคม (2) ความรู้และความพึงพอใจในงานวิสาหกิจชุมชน (3) ความคิดห็นต่อกระบวนการส่งสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน (4) ปัญหาและข้อเสนอแนในการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน (5) จุดแข็งจุดอ่อน โอกาส อุปสรรค และแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน ประชากรในการศึกษาคือ (1) นายทะเบียนวิสาหกิจชุมชน และเจ้าหน้าที่ผู้รับงานวิสาหกิจชุมชน จำนวน 144 ราย (2) ประธานวิสาหกิจชุมชน สุ่มตัวอย่างแบบฉพาะเจาะจง จากวิสาหกิจชุมชน จำนวน 4,117 แห่ง โดยพิจารณาจากต้นแบบประจำอำเภอ จำนวน 77 ราย รวมกลุ่มตัวย่างทั้งสิ้น 23 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามสำหรับเจ้าหน้าที่ และแบบสัมภาษณ์สำหรับประธานและนายทะเบียนวิสาหกิจชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ SWOT Analysis และการจัดหมวดหมู่ข้อมูล ผลการวิจัย พบว่า (1) ประธานมากกว่าครึ่งป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 49.83 ปี มีสถานภาพสมรส จบการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า มีรายได้จากการเข้าร่วมวิสาหกิจชุมชนเฉลี่ยปีละ 110,899.22 บาท อาชีพหลักและอาชีพรองทำการเกษตร รายได้จากอาชีพหลักเฉลี่ยปีละ 137310.61 บาทและจากอาชีพรองเฉลี่ยปีละ 63,229.73 บาท แหล่งเงินทุนมาจากการระดมทุน มีหนี้สินและแหล่งหนี้ส่วนใหญ่จาก ธ.ก.ส. แหล่งจำหน่ายสินค้าส่วนใหญ่จำหน่ายในชุมชนและภายในอำเภอ เจ้าหน้าที่มากกว่าครึ่งป็นเพศหญิงอายุเฉลี่ย 39.53 ปี มีสถานะสมรส จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ประสบการณ์ด้านวิสาหกิจชุมชนโดยเฉลี่ย 5.56 ปี อายุราชการเฉลี่ย 9.88 ปี มีรายได้เฉลี่ยปีละ 275,648.18 บาท มีอาชีพเสริมคือทำการเกษตร มีรายได้เฉลี่ยปีละ 90,171.43 บาท (2) ประธานมีความรู้ในเรื่องการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการทำบัญชีในระดับน้อย เจ้าหน้าที่มีความรู้ใรการวิเคราะห์ศักยภาพวิสาหกิจชุมชนในระดับปานกลาง แหล่งควมรู้ของประธานและเจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่มาจากการอบรม งานมหกรรม นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรและอินเตอร์เนต ความรู้ที่ประธานและสมาชิกต้องการเรียนรู้เพิ่มเติม ได้แก่ ช่องทางการขอรับการสนับสนุน การเพิ่มมูลค่าสินค้าและมาตรฐานสินค้า ความรู้ที่เจ้าหน้าที่ต้องการเพิ่มเติม ได้แก่ จิตวิทยาในการกระตุ้นให้วิสาหกิจชุมชนเกิดการเรียนรู้และเกิดการเปลี่ยนแปลงและการวิเคราะห์ศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ควมพึงพอใจของประธานต่อการดำเนินกิจการวิสาหกิจชุมชน พบว่ามีความพึงพอใจในระดับมาก (3) ความคิดเห็นต่อกระบวนการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชน พบว่าเจ้าหน้าที่เห็นด้วยต่อกระบวนการส่งสริมและสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนในระดับมาก (4) ปัญหาของประธาน ได้แก่ขาดความรู้ด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ปัญหาของเจ้าหน้าที่ ได้แก่ ภาระงานตำบลมาก มีเวลาน้อยสำหรับส่งเสริมวิสาจชุมชน ข้อเสนอแนะของประธาน ได้แก่ สนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ องค์ความรู้สมัยใหม่ ข้อเสนอแนะของเจ้าหน้ที่ ได้แก่ ส่วนกลางควรอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะแก่เจ้าหน้าที่อย่างต่อเนื่อง (5) แนวทางกรส่งเสริมและพัฒาวิสาหกิชุมชน ได้แก่ หน่วยงานต่าง ๆ ควรคำนินงานส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนอย่างบูรณาการ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1453
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_161946.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons