กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1488
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Thailand tourism information services model
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: น้ำทิพย์ วิภาวิน
ประภัสศรี โคทส์, 2510-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
โกวิท รพีพิศาล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การท่องเที่ยว--บริการสารสนเทศ
ไทย--ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย (2) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยและต่างประเทศ (3) ศึกษาปัจจัย ที่มีผลต่อความสำเร็จของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย และ (4) พัฒนารูปแบบการบริการ สารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว จำานวน 396 คน คัดเลือก แบบง่ายจากจังหวัดที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดและสร้างรายได้สูงทางการท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี 2554-2558 จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี กาญจนบุรี ภูเก็ต เชียงใหม่ และนครราชสีมา ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 18 คน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จำนวน 6 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยเป็นการบริการสารสนเทศ พื้นฐานแบบเผชิญหน้า ได้แก่ บริการตอบคำถาม บอกเส้นทางให้แผนที่ สืบค้นข้อมูลออนไลน์ และ การบริการสารสนเทศพิเศษได้แก่ บริการข้อมูลท่องเที่ยวเชิงธุรกิจแก่ผู้ประกอบการ ข้อมูลท่องเที่ยวเฉพาะด้าน และบริการนำส่งเอกสาร มีการบูรณาการความรู้และใช้ทรัพยากรร่วมกันกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวภาครัฐ เอกชน และท้องถิ่น 2) แนวปฏิบัติที่ดีของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทยและต่างประเทศ ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการบุคลากรและด้านการบริการสารสนเทศ ประกอบด้วย การต้อนรับนักท่องเที่ยว ประเภทของการบริการสารสนเทศที่ให้บริการ ช่องทางการบริการ และเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวประเทศไทย ได้แก่ การคัดสรรสารสนเทศที่ให้บริการ เฉพาะกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ งบประมาณที่ใช้จ้างบุคลากร ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย และ 4) รูปแบบการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับประเทศไทยคือ โมเดล SI-IS ประกอบด้วย SI ได้แก่ Sharing (S) การใช้ทรัพยากรร่วมกันและการบูรณาการ ความรู้ของบุคลากรขององค์กรท่องเที่ยวและชุมชนในท้องถิ่น และ Information (I) สารสนเทศเฉพาะกลุ่มซึ่งเป็น หัวใจสำคัญของการบริการสารสนเทศด้านการท่องเที่ยว Information Systems (IS) ระบบสารสนเทศด้านการ ท่องเที่ยว ประกอบด้วยระบบการท่องเที่ยวอัจฉริยะ การเชื่อมโยงบริการสารสนเทศแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จ และ มาตรฐานข้อมูลท่องเที่ยวทั่วไทย
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1488
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib159470.pdfเอกสารฉบับเต็ม42.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons