กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1500
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนจากต่างประเทศกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between foreign investment and economic growth
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อภิญญา วนเศรษฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พอพันธ์ อุยยานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิตยา พิมพ์พัฒ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ --วิทยานิพนธ์
การลงทุนของต่างประเทศ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อ (1) ศึกษาสภาพทั่วไปของการลงทุนจาก ต่างประเทศของไทย (2) ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างการลงทุนจากต่างประเทศกับอัตราการขยายตัว ทางเศรษฐกิจการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ การวิเคราะห์เชิงพรรณนาเป็นการศึกษาถึงภาพรวมของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ และการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศกับการเติบโตของเศรษฐกิจและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการทางเศรษฐมิติและแบบจำลอง VAR (Vector Autoregressive) ในการวิเคราะห์ถึงความสัมพันธ์ระหว่างเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ การลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศกับการเติบโตของเศรษฐกิจเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของทั้งสามตัวแปร โดยการศึกษาได้นำข้อมูลทุติยภูมิแบบอนุกรมเวลารายไตรมาสตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 พ.ศ.2548-ไตรมาสที่ 2ของพ.ศ. 2560 รวม 50 ไตรมาส การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการทดสอบความนิ่งของข้อมูลตามวิธีของ Augmented Dickey-Fuller (ADF) Test และวิธีของ Phillips-Perron (PP) และหาความสัมพันธ์เชิงดุลยภาพระยะยาวด้วยการทดสอบ Co-Integration จากนั้นจึงได้ทำการทดสอบเพื่อหาความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลด้วยวิธี Granger causality ผลการศึกษา พบว่าการลงทุนจากต่างประเทศ พ.ศ. 2548-2559 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น-ลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของการลงทุนจากต่างประเทศ คือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ และปัญหาเศรษฐกิจ - การเมือง ภัยพิบัติทางธรรมชาติทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ปัญหาทางเศรษฐกิจและเหตุการณ์ทางการเมืองของยุโรป สหรัฐอเมริกา ตะวันออกกลาง และญี่ปุ่น เป็นต้น นักลงทุนที่มีบทบาทสำคัญ คือ นักลงทุนจาก ญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง และจีน และ 2) เมื่อพิจารณาที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกับการลงทุน ทางอ้อมจากต่างประเทศและการเติบโตทางเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันในระยะยาวและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และการเติบโตทางเศรษฐกิจส่งผลทางบวกต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศ ส่วนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศกับการลงทุนทางอ้อมจากต่างประเทศไม่ ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1500
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_159360.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.45 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons