Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1557
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชนินาฏ ลีดส์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสิริพันธ์ พลรบ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorมาณพ ประวาลลัญฉกร, 2513--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-15T08:55:23Z-
dc.date.available2022-09-15T08:55:23Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1557-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการออกหมายจับในคดีอาญา (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการจับและการออกหมายจับตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับแนวคิด เหตุ และขั้นตอนในการออกหมายจับระหว่างกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในการออกหมายจับ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารโดยการรวบรวมทั้งจากหนังสือ เอกสารต่าง ๆ ทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และคำพิพากษาฎีกาที่อธิบายหรือมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกหมายจับ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมให้เป็นระบบ จากนั้นใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยที่เกี่ยวกับเหตุในการออกหมายจับ ผลการศึกษาพบว่า (1) การออกหมายจับของไทยสอดคล้องกับแนวคิดกระบวนการยุติธรรมทางอาญารูปแบบการควบคุมอาชญากรรม (2) เหตุในการออกหมายจับตามกฎหมายไทยเปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักได้อย่างมากในการออกหมายจับ ประเทศอังกฤษการจับโดยมีหมายจับที่ออกโดยศาลมีน้อยมากในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐอเมริกาอาศัยพยานหลักฐานเป็นหลักสำคัญในการออกหมายจับ ส่วนประเทศฝรั่งเศสนั้นเหตุในการออกหมายจับ คือ บุคคลนั้นหลบหนีหรือพำนักอาศัยอยู่นอกอาณาเขตของฝรั่งเศส (3) การออกหมายจับของไทยเป็นอำนาจของศาลเท่านั้นเช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ที่แตกต่างคือประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส พนักงานอัยการจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการออกหมายจับ และประเทศสหรัฐอเมริกาผู้ถูกออกหมายจับมีสิทธิ์โต้แย้งการออกหมายจับได้ และให้ความสำคัญกับเหตุอันควรเชื่อได้ในการออกหมายจับ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำตัวบทมาตรา 66 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งอนุมาตรา (1) และอนุมาตรา (2) ที่เดิมบัญญัติว่า “เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา” แก้ไขเป็น “เมื่อมีหลักฐานตามสมควรที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดอาญา”th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14456/lruj.2021.17-
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช-
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectหมายจับth_TH
dc.subjectวิธีพิจารณาความอาญาth_TH
dc.titleการพิจารณาพยานหลักฐานในการออกหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66th_TH
dc.title.alternativeConsideration of evidence for issuing an arrest warrant under section 66 of the criminal procedure codeth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.identifier.DOI10.14456/lruj.2021.17-
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are (1) to study concepts and theories regarding arrest warrants in criminal cases, (2) to study legal principles regarding arrest and arrest warrants according to Thai Law and foreign law, (3) to making a comparative study and analyze about concept, causes and procedure for issuing an arrest warrant between Thai law and foreign law, and (4) to find guidelines to amend the law related to the causes for the arrest warrants. This research is legal research by method of qualitative and documentary research from textbooks, other documents in both Thai and foreign languages and judgments of the Supreme Court that explain or have a content regarding issuing arrest warrants. Then the data acquired has been collected systematically, analyzed by descriptive analysis method and synthesized to get information as a suggestion to amend Thai Criminal Procedure Code regarding causes for issuing arrest warrants. The result of the thesis finds that (1) the issuance of a Thai court arrest warrant has been in line with The Crime Control Model. (2) Causes for issuing an arrest warrant according to Thai law give court a broad discretion to weigh evidence when issuing an arrest warrant. In England, at present there are very few arrests by court warrants. The United States of America relies heavily on evidence for arrest warrants. In France, the causes for an arrest warrant are that the person has escaped or resided outside the French territory. (3) The issuance of a Thai arrest warrant is the jurisdiction of the courts only as those in England, the United States and France. The difference is, in the United States and France, the prosecutor will be involved in the process of issuing a warrant and particular in the United States, those whom issued with an arrest warrant have the right to dispute the issuance of an arrest warrant and focus on probable cause in issuing a warrant for arrest. (4) There should be amendments to section 66 of the Criminal Procedure Code, both subsection (1) and subsection (2) from the original provisions “When there is the evidence as may be reasonable to anyone likely to have committed the criminal offence” to “When there is the evidence as may be reasonable to probable cause that anyone have committed the criminal offence”en_US
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
165484.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.8 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons