กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1557
ชื่อเรื่อง: | การพิจารณาพยานหลักฐานในการออกหมายจับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 66 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Consideration of evidence for issuing an arrest warrant under section 66 of the criminal procedure code |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ชนินาฏ ลีดส์ มาณพ ประวาลลัญฉกร, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สิริพันธ์ พลรบ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์ หมายจับ วิธีพิจารณาความอาญา |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการออกหมายจับในคดีอาญา (2) ศึกษาหลักกฎหมายเกี่ยวกับการจับและการออกหมายจับตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (3) เพื่อศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบเกี่ยวกับแนวคิด เหตุ และขั้นตอนในการออกหมายจับระหว่างกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ (4) เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเหตุในการออกหมายจับ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารโดยการรวบรวมทั้งจากหนังสือ เอกสารต่าง ๆ ทั้งภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และคำพิพากษาฎีกาที่อธิบายหรือมีเนื้อหาเกี่ยวกับการออกหมายจับ นำข้อมูลที่ได้มารวบรวมให้เป็นระบบ จากนั้นใช้วิธีการพรรณนาวิเคราะห์ในการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับเป็นข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทยที่เกี่ยวกับเหตุในการออกหมายจับ ผลการศึกษาพบว่า (1) การออกหมายจับของไทยสอดคล้องกับแนวคิดกระบวนการยุติธรรมทางอาญารูปแบบการควบคุมอาชญากรรม (2) เหตุในการออกหมายจับตามกฎหมายไทยเปิดโอกาสให้ศาลใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักได้อย่างมากในการออกหมายจับ ประเทศอังกฤษการจับโดยมีหมายจับที่ออกโดยศาลมีน้อยมากในปัจจุบัน ประเทศสหรัฐอเมริกาอาศัยพยานหลักฐานเป็นหลักสำคัญในการออกหมายจับ ส่วนประเทศฝรั่งเศสนั้นเหตุในการออกหมายจับ คือ บุคคลนั้นหลบหนีหรือพำนักอาศัยอยู่นอกอาณาเขตของฝรั่งเศส (3) การออกหมายจับของไทยเป็นอำนาจของศาลเท่านั้นเช่นเดียวกับประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และฝรั่งเศส ที่แตกต่างคือประเทศสหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส พนักงานอัยการจะมีส่วนร่วมในขั้นตอนของการออกหมายจับ และประเทศสหรัฐอเมริกาผู้ถูกออกหมายจับมีสิทธิ์โต้แย้งการออกหมายจับได้ และให้ความสำคัญกับเหตุอันควรเชื่อได้ในการออกหมายจับ (4) ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมถ้อยคำตัวบทมาตรา 66 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาทั้งอนุมาตรา (1) และอนุมาตรา (2) ที่เดิมบัญญัติว่า “เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญา” แก้ไขเป็น “เมื่อมีหลักฐานตามสมควรที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าบุคคลใดได้กระทำความผิดอาญา” |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1557 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
165484.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.8 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License