กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1568
ชื่อเรื่อง: | การบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรของสมาชิกฝายร่องหินบ้านดอนเงิน ตำบลออย อำเภอปง จังหวัดพะเยา |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Agricultural water management of farmer at ronghin weir, Ban Don Ngoen, Oi Sub-district, Pong District, Phayao Provine |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา พัชรินทร์ ทะริยะ, 2524- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา. |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์ สมาชิกฝายร่องหินบ้านดอนเงิน ตำบลออย อำเภอปง จังหวัดพะเยา การจัดการความต้องการน้ำ เกษตรกรรม--การจัดการ |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรสมาชิกฝายร่องหินบ้านดอนเงิน 2) การจัดการนํ้าเพื่อการเกษตรของสมาชิกฝายร่องหิน บ้านดอนเงิน 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิกฝายร่องหินบ้านดอนเงิน และ 4) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการนํ้าเพื่อการเกษตรของสมาชิกฝายร่องหิน บ้านดอนเงิน ตำบลออย อำเภอปง จังหวัดพะเยา ผลการวิจัยพบว่า 1)เกษตรกรสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาย มีอายุเฉลี่ย54.93ปีสถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 ส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นอาสาสมัครและผู้นำชุมชน เป็นสมาชิกกลุ่มเกษตรกรต่าง ๆ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีแหล่งสินเชื่อมากกว่า 1 แห่ง มีพื้นที่ในการทำการเกษตรเฉลี่ย 15.77 ไร่ 2) การบริหารจัดการนํ้าเพื่อการเกษตรของสมาชิกฝายร่องหิน พบว่า กลุ่มมีโครงสร้างคณะกรรมการบริหารจัดการ มีกฎระเบียบ/ข้อบังคับใช้ จัดสรรนํ้าที่ชัดเจน มีผู้นำที่สมาชิกให้การยอมรับ สมาชิกประกอบกิจกรรมด้านการเกษตรตามแผนการจัดสรรนํ้า ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมในการจัดการนํ้าเพื่อการเกษตร มีเงินทุนของกลุ่ม และได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ส่งผลให้ ด้านเศรษฐกิจ / รายได้ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม/ระบบนิเวศน์ของสมาชิกลุ่มและชุมชนดีขึ้น 3)การมีส่วนร่วมของสมาชิก พบว่า เกษตรกรมีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการกำหนดกฎระเบียบ/ข้อบังคับในระดับมาก ส่วนการวางแผน การแก้ไขปัญหา และการประเมินและติดตามผลการดำเนินงานมีส่วนร่วมในระดับปานกลาง 4) ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารจัดการนํ้าเพื่อการเกษตร (1) ปัจจัยภายในได้แก่ สมาชิกเป็นคนดีและผู้นำที่ดี ได้รับการยอมรับ มีประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม กฎระเบียบข้อบังคับเป็นแนวปฏิบัติที่ชัดเจน (2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ด้านองค์ความรู้ ทุน งบประมาณหรือทรัพยากร |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1568 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
158754.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License