Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1570
Title: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งของเกษตรกรในจังหวัดนครพนม
Other Titles: Factors relating to utilization of dry rice seed dipper technology by farmer in Nakhon Phanom Province
Authors: พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธีระพงษ์ อินทรตระกูล, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เทคโนโลยีการเกษตร
เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย--นครพนม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งของเกษตรกร (4) การใช้เทคโนโลยีเครื่อง หยอดข้าวแห้งของเกษตรกร (5) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้ง และ (6) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกรเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งผลการวิจัยพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 53.4 เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 52.56 ปี ร้อยละ 33.8 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เกษตรกรส่วนใหญ่มีระยะเวลาการเป็นสมาชิกกลุ่มโครงการส่งเสริมระบบการเกษตรแบบแปลงใหญ่ 2 ปี ได้รับความรู้เรื่องการผลิตข้าว การใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้ง โดยได้รับความรู้จากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรมากที่สุด มีการถือครองเอกสารสิทธิ์เป็นโฉนดและพื้นที่การผลิตข้าวเป็นของตนเอง พื้นที่ผลิตข้าวเฉลี่ย 23.36 ไร่ ส่วนใหญ่ มีพื้นที่ผลิตข้าวเป็นที่ราบ ประมาณกึ่งหนึ่งมีการใช้เครื่องหยอดข้าวแห้งในการผลิตข้าว อัตราการใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 9.51 กิโลกรัมต่อไร่ ปริมาณผลผลิตข้าวเฉลี่ย 592.36 กิโลกรัมต่อไร่ ต้นทุนการผลิตข้าวเฉลี่ย 2,794.32 บาทต่อไร่ ประมาณ 2 ใน 3 มีการถือครองส่วนใหญ่มีการวางแผนในการซื้อเครื่องหยอดข้าวแห้ง ซึ่งเพียง 1 ใน 3 ต้องการรวมกลุ่มกันซื้อ (2) เกษตรกรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งอยู่ในระดับปานกลาง (3) เกษตรกรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งในขั้นตอน/กระบวนการใช้ ระยะเวลาในการดำเนินการและต้นทุน/แรงงานในการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (4) เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้ง อยู่ในระดับมากที่สุด (5) จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปริมาณผลผลิตข้าวต่อไร่มีความสัมพันธ์กับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งของเกษตรกร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (6) ปัญหาเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งของเกษตรกรก่อนใช้ ระหว่างใช้และหลังการใช้เครื่องหยอดข้าวแห้งอยู่ในระดับน้อย การเข้าถึงเครื่องหยอดข้าวแห้งระดับปานกลาง ได้แก่ ตัวแทนจำหน่าย สถานที่จำหน่าย แหล่งจำหน่ายเครื่องหยอดข้าวแห้ง การบริการหลังการขายจากตัวแทนจำหน่าย/ร้านค้า และปัญหาการส่งเสริมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งระดับปานกลาง ได้แก่ ผู้มีความชำนาญในการให้ความรู้การใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้ง และข้อเสนอแนะ ได้แก่ ควรมีการส่งเสริมให้ความรู้ที่เน้นการผลิตข้าวโดยการใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้ง สนับสนุนเครื่องหยอดข้าวแห้งให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่การผลิตข้าว การสนับสนุนปัจจัยการผลิตและเงินทุนสนับสนุน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรใช้เทคโนโลยีเครื่องหยอดข้าวแห้งมากขึ้น
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))-- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1570
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
158757.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.23 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons