Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1571
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจิตตินันท์ เดชะคุปต์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorวัลภา สบายยิ่ง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorสุจิรา วัฒนะศรี, 2517--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-16T03:39:37Z-
dc.date.available2022-09-16T03:39:37Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1571-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การพัฒนาครอบครัวและสังคม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกมาวิถีชีวิตครอบครัวของชาวชุมชนบุญนิยมสันติอโศก กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ แบ่งป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ) กลุ่มครอบครัวที่เป็นสมาชิกชุมชนบุญนิยมสันติอโศก กรุงเทพมหานคร จำนวน 4 ครอบครัว ได้แก่ บิดา มารดาและบุตร จำนวน 16 คน ที่ใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนบุญนิยมสันติอโศกไม่ต่ำกว่า 2 ปี และมีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี อาศัยอยู่ด้วยกัน 2) กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับครอบครัวที่ศึกษา จำนวน 4 คน ได้แก่ นักบวชหญิง คนวัด สมาชิกชุมชนและญาติธรรม ผลการวิจัย พบว่าครอบครัวที่ศึกษาตัดสินใจเข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนบุญนิยมสันติอโศก กรุงเทพมหานคร มีเหตุจูงใจที่เกิดจากความต้องการภายใน และภายนอกครอบครัว โดยเหตุจูงใจภายในครอบคลุม การมีชีวิตที่สงบและพอเพียง การเห็นคุณค่าในตนเอง และการแสวงหาธรรมะ ส่วนเหตุจูงใจภายนอกครอบคลุมรูปแบบสังคมที่น่าอยู่อาศัย การเกื้อกูลต่อกันทางศรษฐกิฐ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของสภาพเวดล้อม และความศรัทธต่อสมณะ โพธิรักษ์ ซึ่งหลังจากที่เข้ามาใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนดังกล่วแล้ว พบว่า มีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตครอบครัวตามเอกลักษณ์ของชาวชุมชนบุญนิยมสันติอโศก โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงวิธีคิด บุคลิกภาพ ชีวิตความป็นอยู่ และปฏิสัมพันระหว่างสมาชิกครอบครัว อีกทั้งพบว่า วิถีชีวิตปัจจุบันของครอบครัวเหล่านี้มีความเชื่อมโยงกับชุมชนอย่างใกล้ชิด ในรูปแบบของ "บ้าน-วัด-โรงเรียน" โดยเป็นการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันเสมือนครอบครัวใหญ่ กินใช้ร่วมกันด้วยระบบสาธารณโภคี มีบริบทชุมชนที่เอื้อต่อการดำรงชีวิต มีความอุดมสมบูรณ์และพอเพียงในเรื่องของปัจจัย 4 และมีธรรมะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงจิตใจ ทั้งนี้หลักคิดการใช้ชีวิตครอบครัวแบบบุญนิยมสันติโศก ประกอบด้วย 1) การเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของชีวิต เป็นการเห็นคุณค่าในตนเอง และการมีชีวิตที่ไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น 2) การใช้ชีวิตที่พอเพียง เป็นการตระหนักถึงความพอเหมาะพอดี และไม่ดิ้นรนแสวงหาไม่อยากได้อะไรเกินความจำเป็น มีความสมถะ มักน้อย สันโดษ 3) การเต็มใจให้การช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น เป็นการตระหนักถึงคุณค่าของการให้ มีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเกื้อกูลผู้อื่น ยินดีให้ประโยชน์ผู้อื่น มากกว่าประโยชน์ส่วนตน โดยไม่ได้หวังสิ่งตอบแทน 4) การใช้ชีวิตอย่างมีระเบียบ เป็นการตระหนักถึงการใช้ชีวิตที่ต้องมีหลักยึดของศีล และหลักปฏิบัติต่าง ๆ ของชาวอโศกที่ทุกคนในชุมชนยอมรับและทำตาม คือ ถือศีล 5 ละอบายมุข การรับประทานอาหารมังสวิรัติ และการอยู่ร่วมกันด้วยระบบสาธารณโภคี ซึ่งหมายถึง การบริโภคเป็นสาธารณะ แบ่งกันกินแบ่งกันใช้ ไม่สะสมส่วนตัว ไม่กอบโกย ทรัพย์ที่หามาได้จะเป็นของส่วนกลางth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการพัฒนาครอบครัวและสังคม --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectสันติอโศกth_TH
dc.subjectการใช้ชีวิตแบบพอเพียงth_TH
dc.titleวิถีชีวิตครอบครัวของชาวชุมชนบุญนิยมสันติอโศก กรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeFamily way of life among Boonniyom Santi Asoke Community in Bangkokth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameคหกรรมศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชามนุษยนิเวศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Hum-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_161791.pdfเอกสารฉบับเต็ม9.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons