Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1584
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorเกศนาฏ กลิ่นทอง, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-16T06:49:01Z-
dc.date.available2022-09-16T06:49:01Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1584-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ ของครัวเรือนเกษตรกร (2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร (3) สถานภาพความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกร (4) ปัญหา และแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกร และ (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.95 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.49 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.86 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 8.77 ไร่ รายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 60.025.35 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 26,947 บาท/ปี หนี้สินในภาคการเกษตรเฉลี่ย 73,027.65 บาท/ปี หนี้สินนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 23,580.65 บาท/ปี เงินทุนในการทำการเกษตรส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืม เกษตรกรส่วนมากไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดๆทางสังคม และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. (2) ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นความรู้ที่เกษตรกรทราบว่าเป็นความมั่นคงทางอาหาร คือ การมีอาหารที่หลากหลายบริโภค และการมีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง เกษตรกรมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แหล่งความรู้ได้รับจากสื่อสารมวลชนกว่าสื่ออื่นๆ รองลงมาคือ สื่อบุคคล สื่อกลุ่มกิจกรรม สื่อออนไลน์ และ สื่อสิ่งพิมพ์ (3) สถานภาพความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกรายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพอเพียง ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านการเข้าถึงอาหาร อยู่ในระดับมาก และด้านเสถียรภาพทางอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัญหาในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกชุมชน แนวทางการจัดการ ป้องกัน พัฒนา และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางอาหาร กล่าวโดยสรุป คือการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต การพึ่งพาตนเอง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การสืบทอดสานต่อประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงเรื่องของนโยบายและแผนพัฒนาระดับประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร (5) ระดับความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ระดับการได้รับความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และระดับปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectความมั่นคงทางอาหาร--ไทย--อุตรดิตถ์th_TH
dc.titleความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกรตำบลสองห้อง อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์th_TH
dc.title.alternativeHousehold food security in Song Hong Sub-district, Fak Tha District, Uttaradit Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159130.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.77 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons