กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1584
ชื่อเรื่อง: ความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกรตำบลสองห้อง อำเภอฟากท่า จังหวัดอุตรดิตถ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Household food security in Song Hong Sub-district, Fak Tha District, Uttaradit Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา
สินีนุช ครุฑเมือง แสนเสริม, อาจารย์ที่ปรึกษา
เกศนาฏ กลิ่นทอง, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ความมั่นคงทางอาหาร--ไทย--อุตรดิตถ์
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคม และเศรษฐกิจ ของครัวเรือนเกษตรกร (2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร (3) สถานภาพความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกร (4) ปัญหา และแนวทางการสร้างความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกร และ (5) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 51.95 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา สมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.49 คน จำนวนแรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.86 คน พื้นที่ทำการเกษตรเฉลี่ยครัวเรือนละ 8.77 ไร่ รายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 60.025.35 บาท/ปี รายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 26,947 บาท/ปี หนี้สินในภาคการเกษตรเฉลี่ย 73,027.65 บาท/ปี หนี้สินนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 23,580.65 บาท/ปี เงินทุนในการทำการเกษตรส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืม เกษตรกรส่วนมากไม่ได้ดำรงตำแหน่งใดๆทางสังคม และส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธกส. (2) ความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารของเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นความรู้ที่เกษตรกรทราบว่าเป็นความมั่นคงทางอาหาร คือ การมีอาหารที่หลากหลายบริโภค และการมีความสามารถในการพึ่งพาตนเอง เกษตรกรมีแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารและระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง แหล่งความรู้ได้รับจากสื่อสารมวลชนกว่าสื่ออื่นๆ รองลงมาคือ สื่อบุคคล สื่อกลุ่มกิจกรรม สื่อออนไลน์ และ สื่อสิ่งพิมพ์ (3) สถานภาพความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนเกษตรกรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแยกรายละเอียดในแต่ละด้าน พบว่า ด้านความพอเพียง ด้านการใช้ประโยชน์ ด้านการเข้าถึงอาหาร อยู่ในระดับมาก และด้านเสถียรภาพทางอาหาร อยู่ในระดับปานกลาง (4) ปัญหาในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร เกิดจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกชุมชน แนวทางการจัดการ ป้องกัน พัฒนา และแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับความไม่มั่นคงทางอาหาร กล่าวโดยสรุป คือการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต การพึ่งพาตนเอง การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การสืบทอดสานต่อประเพณีวัฒนธรรม รวมถึงเรื่องของนโยบายและแผนพัฒนาระดับประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางอาหาร (5) ระดับความรู้เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ระดับการได้รับความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ และระดับปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร มีความสัมพันธ์ต่อความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนเกษตรกรอย่างมีนัยสำคัญยิ่งทางสถิติที่ระดับ 0.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1584
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159130.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons