กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1585
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาการให้บริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for developing training services of the Federation of Savings and credit Cooperatives of Thailand Limited |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ส่งเสริม หอมกลิ่น, อาจารย์ที่ปรึกษา อัจฉรา โพธิ์ดี, อาจารย์ที่ปรึกษา วรัญญา ชูสกุล, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ สหกรณ์ออมทรัพย์ การฝึกอบรม บุคลากร--การฝึกอบรม |
วันที่เผยแพร่: | 2560 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสหกรณ์สมาชิกและปัจจัยด้านสหกรณ์ที่มีต่อการตัดสินใจในการใช้บริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ 2) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยการตัดสินใจในการใช้บริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ 3) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสหกรณ์สมาชิกและปัจจัยด้านสหกรณ์กับระดับความสำคัญของปัจจัยการตัดสินใจการใช้บริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ และ 4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด จังหวัดนนทบุรี ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยส่วนบุคลากรสหกรณ์สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 46-50 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี ตำแหน่งเป็นกรรมการดำเนินการ มีประสบการณ์การทำงาน ไม่เกิน 5 ปี จำนวนหลักสูตรที่เข้ารับการฝึกอบรม 1 หลักสูตร ความคาดหวังจากการเข้ารับการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานในหน้าที่ความรับผิดชอบ ปัจจัยด้านสหกรณ์ ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ที่ปฏิบัติงานกลุ่มอาชีพรับราชการ/ รัฐวิสาหกิจ และมีที่ตั้งอยู่ในส่วนภูมิภาค 2) ระดับความสำคัญของปัจจัยในการตัดสินใจของบุคลากรสหกรณ์สมาชิก โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร (Χ=4.22) ด้านรูปแบบวิธีการฝึกอบรม (Χ=4.18) ด้านการนำไปใช้ประโยชน์(Χ=4.02) และ ด้านนโยบายสหกรณ์ (Χ=3.51) ตามลำดับ 3) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสหกรณ์สมาชิกกับระดับความสำคัญของปัจจัยการตัดสินใจการใช้บริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ พบว่าโดยรวมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญสถิติที่ระดับ 0.05 กับด้านจำนวนหลักสูตรในการฝึกอบรม ส่วนการเปรียบเทียบปัจจัยด้านสหกรณ์กับ ระดับความสำคัญของปัจจัยการตัดสินใจการใช้บริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4) ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาให้บริการฝึกอบรมของชุมนุมสหกรณ์ คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรที่จัดฝึกอบรมในปัจจุบัน โดยการประเมินหลักสูตรทุกหลักสูตรหลังสิ้นสุดโครงการและหลังการนำไปใช้ประโยชน์ระยะหนึ่ง ด้านการพัฒนาหลักสูตรใหม่เน้นสนองความต้องการของผู้เข้าอบรมในหลักสูตรอื่นที่กว้างขวางขึ้น และด้านรูปแบบการให้บริหารฝึกอบรม เช่น การถ่ายทอดสด การเรียนผ่าน e-Learning และการจัดการศึกษาทางไกล เป็นต้น |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (สหกรณ์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1585 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Agri-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159133.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 19.61 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License