Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1586
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorกนกกาญจน์ สว่างเมฆ, 2526--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-16T07:24:18Z-
dc.date.available2022-09-16T07:24:18Z-
dc.date.issued2560-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1586-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560th_TH
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการปลูกผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 68.5 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52.73 ปี ร้อยละ 42.4 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.03 คน ร้อยละ 60.9 เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้การปลูกผักปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยเฉลี่ย 6.49 ปี เกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยเฉลี่ย 6.47 ครั้ง/ปี (2) การผลิตผักปลอดภัยเกษตรกรร้อยละ 23.9 มีการตรวจวิเคราะห์ดิน พื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ เกษตรกรร้อยละ 66.3ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ใช้วิธีผสมผสานในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ร้อยละ 33.7 มีการคัดแยกหรือการตัดแต่งผักก่อนจำหน่าย ร้อยละ 72.8 มีการจำหน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 84.8 ได้รับการอบรมจากทางเทศบาลตำบลพันเสา เกษตรกรร้อยละ 38.9ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรบางส่วนยังไม่สามารถปฏิบัติตามเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ เนื่องจากการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติภายในแปลงยังไม่ครบถ้วน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่าเกษตรกรมีปัญหาระดับมากที่สุดคือ การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และปุ๋ยเคมี/สารเคมีราคาแพง เกษตรกรเสนอแนะเรื่องการลดต้นทุนการผลิตโดยต้องการความรู้ในเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช และการป้องกันกำจัด และปุ๋ยสั่งตัด (4) เกษตรกรต้องการความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการป้องกันและกำจัดโรคพืชการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การจัดการปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยสั่งตัด เกษตรกรมีความต้องการช่องทางการส่งเสริมการเกษตร ในระดับมากจากราชการ ผ่านทางแผ่นพับและคู่มือต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมากในรูปแบบการสาธิตและการบรรยายเกษตรกรมีความต้องการการให้บริการและการสนับสนุน ในระดับมากที่สุดในเรื่องการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดี การจัดหาแหล่งจำหน่ายปัจจัยการผลิตคุณภาพดีราคาถูก และการประกันราคาผลผลิตth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectผักปลอดสารพิษ--การปลูกth_TH
dc.subjectผักไร้สารพิษth_TH
dc.subjectการส่งเสริมการเกษตรth_TH
dc.titleความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลกth_TH
dc.title.alternativeExtension needs for vegetables safety production in the large agricultural land plot of farmers in Bang Rakam District of Phitsanulok Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameเกษตรศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
159141.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.71 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons