กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1586
ชื่อเรื่อง: ความต้องการการส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร อำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension needs for vegetables safety production in the large agricultural land plot of farmers in Bang Rakam District of Phitsanulok Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
กนกกาญจน์ สว่างเมฆ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์
ผักปลอดสารพิษ--การปลูก
ผักไร้สารพิษ
การส่งเสริมการเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) สภาพการปลูกผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปลูกผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร (4) ความต้องการการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยในรูปแบบแปลงใหญ่ของเกษตรกร ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรร้อยละ 68.5 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 52.73 ปี ร้อยละ 42.4 จบการศึกษาระดับประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวนสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.03 คน ร้อยละ 60.9 เป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ได้รับข้อมูลข่าวสารและความรู้การปลูกผักปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร มีประสบการณ์ในการปลูกผักปลอดภัยเฉลี่ย 6.49 ปี เกษตรกรได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการผลิตผักปลอดภัยเฉลี่ย 6.47 ครั้ง/ปี (2) การผลิตผักปลอดภัยเกษตรกรร้อยละ 23.9 มีการตรวจวิเคราะห์ดิน พื้นที่ปลูกเป็นที่ราบ เกษตรกรร้อยละ 66.3ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ใช้วิธีผสมผสานในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืช ร้อยละ 33.7 มีการคัดแยกหรือการตัดแต่งผักก่อนจำหน่าย ร้อยละ 72.8 มีการจำหน่ายผลผลิตผ่านสหกรณ์การเกษตร ร้อยละ 84.8 ได้รับการอบรมจากทางเทศบาลตำบลพันเสา เกษตรกรร้อยละ 38.9ปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เกษตรกรบางส่วนยังไม่สามารถปฏิบัติตามเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูลและการตามสอบ เนื่องจากการบันทึกข้อมูลการปฏิบัติภายในแปลงยังไม่ครบถ้วน (3) ปัญหาและข้อเสนอแนะ พบว่าเกษตรกรมีปัญหาระดับมากที่สุดคือ การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช และปุ๋ยเคมี/สารเคมีราคาแพง เกษตรกรเสนอแนะเรื่องการลดต้นทุนการผลิตโดยต้องการความรู้ในเรื่องโรคและแมลงศัตรูพืช และการป้องกันกำจัด และปุ๋ยสั่งตัด (4) เกษตรกรต้องการความรู้เพิ่มเติมในเรื่องการป้องกันและกำจัดโรคพืชการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การจัดการปุ๋ยและการใช้ปุ๋ยสั่งตัด เกษตรกรมีความต้องการช่องทางการส่งเสริมการเกษตร ในระดับมากจากราชการ ผ่านทางแผ่นพับและคู่มือต้องการวิธีการส่งเสริมในระดับมากในรูปแบบการสาธิตและการบรรยายเกษตรกรมีความต้องการการให้บริการและการสนับสนุน ในระดับมากที่สุดในเรื่องการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์ดี การจัดหาแหล่งจำหน่ายปัจจัยการผลิตคุณภาพดีราคาถูก และการประกันราคาผลผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1586
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159141.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons