Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1587
Title: | การดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกรอำเภอจุน จังหวัดพะเยา |
Other Titles: | Living based on sufficiency economy philosophy of farmers in Chun District, Phayao Province |
Authors: | บำเพ็ญ เขียวหวาน, อาจารย์ที่ปรึกษา นารีรัตน์ สีระสาร, อาจารย์ที่ปรึกษา ณัฐพล กิตติบุญญวัฒน์, 2530- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์ --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์ เศรษฐกิจพอเพียง--ไทย--พะเยา เกษตรกร--ไทย--พะเยา--การดำเนินชีวิต. |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานส่วนบุคคล สังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกร (2) ความรู้และแหล่งความรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของเกษตรกร (3) ความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร (4) ระดับการปฏิบัติในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของเกษตรกร ผลการวิจัย พบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 56.33 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ประกอบอาชีพหลักเป็นเกษตรกร อาชีพรองรับจ้างทั่วไป แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.18 คน ประสบการณ์ด้านการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เฉลี่ย 11.78 ปี มีรายได้เฉลี่ย 152,162.00 บาท/ปี เป็นรายได้ในภาคการเกษตรเฉลี่ย 101,036.00 บาท/ปี เป็นรายได้นอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 55,545.83 บาท/ปี มีหนี้สินคงเหลือที่เกิดในภาคการเกษตรเฉลี่ย 253,128.05 บาท เป็นหนี้สินจากนอกภาคการเกษตรเฉลี่ย 145,322.03 บาท มีพื้นที่ทำการเกษตรของตนเอง/ไม่เสียค่าเช่า เฉลี่ย 22.00ไร่ เช่าพื้นที่เฉลี่ย 19.22 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เฉลี่ย 10.09 ไร่ ใช้ทุนส่วนตัวและแหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส) ไม่ได้ดำรงตำแหน่งด้านผู้นำชุมชนแต่ยังเป็นคณะกรรมการหมู่บ้าน ไม่เป็นสมาชิกกลุ่ม/สถาบันเกษตรกร (2) มีความรู้ในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด มีแหล่งข้อมูลและระดับการได้รับข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง (3) มีความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด (4) เกษตรกรมีระดับการปฏิบัติในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด (5) ระดับความรุนแรงของปัญหาที่เกี่ยวกับการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอยู่ในระดับปานกลาง (6) ข้อเสนอแนะในการดำรงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ควรมีการจัดตั้งตลาดเกษตรกร การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ลดการใช้สารเคมี |
Description: | วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1587 |
Appears in Collections: | Agri-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
159164.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License