กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1592
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาการฟ้องบุคคลเบื้องหลังนิติบุคคลในคดีผู้บริโภค |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Legal problems in suing people behind the juristic persons in consumer cases |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิมาน กฤตพลวิมาน บังอร เกียรติสุข, 2496- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา พงษ์สิทธิ์ อรุณรัตนากุล |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ การฟ้องคดีในนามกลุ่มบุคคล การฟ้อง--ไทย ผู้บริโภค--คดี |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทฤษฎีเกี่ยวกับนิติบุคคลด้านความรับผิดของนิติบุคคลและบุคคลเบื้องหลังนิติบุคคลตามกฎหมายไทยและต่างประเทศ (2) ศึกษาหลักการไม่คำนึงถึงความเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และในต่างประเทศ (3) วิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องบุคคลเบื้องหลังนิติบุคคลตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2551 และในต่างประเทศ (4) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสารจากหนังสือตำราและบทความต่างๆ ตลอดจนตัวบทกฎหมายและแนวคําพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องทั้งของประเทศไทยและกฎหมายต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) นิติบุคคลเป็นบุคคลตามกฎหมายมีสิทธิและหน้าที่ของตนเอง จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกด้วยตนเองและบุคคลเบื้องหลังนิติบุคคลเช่นผู้ลงทุนมีความรับผิดจำกัดเพียงจำนวนเงินที่นำมาลงทุน กฎหมายเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนและบริษัททั้งในประเทศไทยและประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศเยอรมนีต่างก็บัญญัติเช่นนี้ (2) หลักการ ไม่คำนึงถึงความเป็นนิติบุคคลตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 และของประเทศสหราชอาณาจักร ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศเยอรมนี ต่างก็บัญญัติคล้ายกันกล่าวคือเมื่อบุคคลเบื้องหลังนิติบุคคลใช้นิติบุคคลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน โดยไม่ชอบ ทําให้บุคคลภายนอกไม่ได้รับความเป็นธรรม ศาลจะใช้หลักการไม่คำนึงถึงความเป็นนิติบุคคลเพื่อให้บุคคลเบื้องหลังนิติบุคคลมาร่วมรับผิดกับนิติบุคคล (3) ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการฟ้องบุคคลเบื้องหลังนิติบุคคลตามมาตรา 44 แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 พบว่าศาลไทยยังลังเลที่จะใช้หลักการนี้ จากการที่บัญญัติตัวบทไว้อย่างกว้างทำให้ยากในทางปฏิบัติจึงมีคดีฟ้องตามมาตรานี้ค่อนข้างน้อยมาก สําหรับศาลในประเทศสหราชอาณาจักรใช้หลักการไม่คำนึงถึงสภาพนิติบุคคลค่อนข้างน้อย แม้ว่าจะเป็นประเทศแรกที่พัฒนาหลักการนี้ขึ้นมาจึงมีคดีที่ฟ้องตามหลักการนี้ค่อนข้างน้อย สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกามีคดีฟ้องตามหลักการนี้ค่อนข้างมาก โดยศาลแต่ละมลรัฐพัฒนาหลักการไม่คำนึงถึงสภาพนิติบุคคลของตน สำหรับศาลในประเทศแคนาดาใช้หลักการไม่คำนึงถึงสภาพนิติบุคคล โดยศาลพัฒนาหลักการนี้ขึ้นมาเพื่อเน้นผลประโยชน์ทางภาษี สําหรับศาลในประเทศเยอรมนีใช้หลักการไม่คํานึงถึงสภาพนิติบุคคลค่อนข้างน้อย แม้ว่าศาลจะพัฒนาหลักการนี้ขึ้นมา แต่มีคดีฟ้องตามหลักการนี้ค่อนข้างน้อย โดยศาลจะใช้หลักการทั่วไปในกฎหมายแพ่ง เช่น ละเมิด (4) เสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขมาตรา 44 นี้ด้วยการเพิ่มนิยามอำนาจควบคุม วิธีก้าหนดราคาโอน และวิธีวัดมูลค่ากิจการ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1592 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
165545.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 14.84 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License