Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1594
Title: | สมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น |
Other Titles: | Factors predicting competency in elderly care of professional nurses in Tambon health promoting hospitals, Khonkaen Province |
Authors: | สุทธีพร มูลศาสตร์, อาจารย์ที่ปรึกษา วันเพ็ญ แก้วปาน, อาจารย์ที่ปรึกษา เกษสุวรรณ สังหาวิทย์, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล--วิทยานิพนธ์ ผู้สูงอายุ--การดูแล--ไทย--ขอนแก่น การพยาบาลผู้สูงอายุ |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยเชิงทำนายครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น (2) อำนาจในการทำนายของปัจจัยส่วนบุคคล ประสบการณ์การดูแลผู้สูงอายุ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการดูแลผู้สูงอายุ ต่อสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่าง เป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น สังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 125 คน เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ (1) ข้อมูลส่วนบุคคล (2) การรับรู้นโยบายการดูแลผู้สูงอายุ (3) ปัจจัยแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการดูแลผู้สูงอายุ และ (4) สมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน มีค่าความตรงตามเนื้อหาของส่วนที่ 2, 3, และ 4 เท่ากับ .99, 1.00 และ 1.00 ตามลำดับ และค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบราค เท่ากับ .99, .95 และ .97 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา สถิติสหพันธ์แบบเพียร์สัน และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการมีทัศนคติที่ดีต่อผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่ การสื่อสารกับผู้ป่วยสูงอายุและครอบครัว การดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน การประเมินผู้สูงอายุ ทักษะการปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยสูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันภาวะเสี่ยงในผู้สูงอายุ และการประสานงานกับสหวิชาชีพ ส่วนด้านการจัดการกับความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง (2) ระยะเวลาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r=.078) ประสบการณ์ในการทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r=.135) การเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r=.282) กับสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) การเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ การรับรู้นโยบายการดูแลผู้สูงอายุ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการดูแลผู้สูงอายุ สามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้ร้อยละ 37.9 ดังนั้น ปัจจัยทำนายเหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาเพื่อส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุที่ดีต่อไป |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.(การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1594 |
Appears in Collections: | Nurse-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_159162.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.89 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License