กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1600
ชื่อเรื่อง: การวางกรอบข่าวเด็กของหนังสือพิมพ์ไทยและการวิเคราะห์ประเด็นจริยธรรมและสิทธิเด็ก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Framing of children in Thai newspapers and analysis of ethics and children's rights issues
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: มนวิภา วงรุจิระ
การดา ร่วมพุ่ม, 2512-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สันทัด ทองรินทร์
มาลี บุญศิริพันธ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
หนังสือพิมพ์กับเด็ก
ข่าว
สิทธิเด็ก
จริยธรรม
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะของกรอบข่าวเด็กในข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ไทย 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการวางกรอบข่าวเด็กในข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ไทย และ 3) ทัศนคติของผู้รับสารที่มีต่อกรอบข่าวเด็กในข่าวหน้า 1 ของหนังสือพิมพ์ไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวเด็ก ในหน้า 1 จากหนังสือพิมพ์ 5 ชื่อฉบับ ได้แก่ ไทยรัฐ เดลินิวส์ มติชน คมชัดลึก และข่าวสด ที่เผยแพร่ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2556 – 31 ธันวาคม 2558 และตามด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกกลุ่มผู้ให้ ข้อมูลหลักแบบเจาะจง บุคลากรข่าวทั้งระดับบริหารและปฏิบัติการ นักวิชาการสื่อสารมวลชน และผู้แทนองค์กร เอกชนเกี่ยวกับเด็ก รวม 15 คน และสนทนากลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตรหลานอายุต่ำกว่า 18 ปี 1 ครั้ง จำนวน 6 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การสร้างข้อสรุป เชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสือพิมพ์ไทยมุ่งวางกรอบการระบุสภาพปัญหาเป็นอันดับแรกรองลงมา คือกรอบการประเมินคุณค่าทางจริยธรรม กรอบการอธิบายสาเหตุ และกรอบการเสนอแนวทางแก้ไขปัญหา ตามลำดับเมื่อวิเคราะห์จริยธรรมในการนำเสนอข่าวเด็ก พบว่ามีประเด็นขัดหลักจริยธรรมในพาดหัวข่าวและความนำได้แก่ การตัดสินพิพากษา การด่าทอประณาม และการเร้าอารมณ์ด้วยถ้อยคำรุนแรง ส่วนภาพข่าวขัด หลักจริยธรรมที่สำคัญ 3 ประการ คือ การลดทอนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ การเปิดเผยตัวตน และการสร้างภาพ เหมารวมให้กับเด็ก ผลการศึกษากรอบข่าวเด็กตามแนวคิดสิทธิเด็ก พบว่าหนังสือพิมพ์ให้ความสำคัญกับการวางกรอบสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองมากที่สุด ขณะที่กรอบข่าวสิทธิในการมีส่วนร่วมของเด็กถูกนำเสนอน้อยที่สุด 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการวางกรอบข่าวเด็กของหนังสือพิมพ์ไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ปัจจัยภายใน ได้แก่ นโยบาย ขององค์กร คุณค่าความเป็นข่าว และความเป็นมืออาชีพของนักข่าว ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การเปลี่ยนแปลง เทคโนโลยี ที่ทำให้ปัจจัยภายนอกอื่นๆ เปลี่ยนตามไม่วาจะเป็นสภาพการแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อ สภาพสังคม และวัฒนธรรม ตลอดจนการกำกับดูแลภายใต้กฎหมายและจรรยาบรรณสื่อ 3) ทัศนคติของผู้รับสารต่อกรอบข่าวเด็กในหน้า 1 หนังสือพิมพ์ พบว่ากรอบข่าวเด็กเชิงบวกทำให้ผู้ปกครองเข้าใจธรรมชาติของเด็กมากขึ้น ขณะที่กรอบข่าวเด็กเชิงลบ ส่งผลให้ผู้ปกครองเกิดความวิตกกังวลกลัวจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่ดีกับลูกหลานในฐานะผู้ถูกกระทำ นักวิชาการสื่อสารมวลชนและผู้แทนองค์กรด้านเด็ก เห็นว่าการขาดจริยธรรมและไม่คำนึงถึงสิทธิเด็กในการรายงานข่าวส่งผลให้เกิดการละเมิดอัตลักษณ์บุคคลของเด็ก การเปิดเผยตัวตนของเด็ก การปลูกฝัง ทัศนคติและค่านิยมเชิงลบ ตลอดจนการแฝงอคติในการแบ่งเชื้อชาติ ชนชั้น และภูมิภาค ผ่านการเลือกนำเสนอ เพียงบางแง่มุมและการผลิตซ้ำ
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1600
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib162520.pdf้ิเอกสารฉบับเต็ม5.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons