Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1603
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทยาธร ท่อแก้วth_TH
dc.contributor.authorประกายใจ อรจันทร์, 2519-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-19T03:13:34Z-
dc.date.available2022-09-19T03:13:34Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1603en_US
dc.descriptionดุษฏีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร 2) การบริหารงานการสื่อสาร และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมจํานวน 31 คน ได้แก่วิปัสสนาจารย์ 7 คน โยคี 14 คน ผู้บริหารองค์การ 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง โดยมีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม และ แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการสื่อสารผู้ส่งสารมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับสารเห็นหนทาง แห่งการดับทุกข์ โดยผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ดีต่อเนื้อหาหลักธรรมและผู้รับสาร เป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ในเนื้อหาหลักธรรม ความรู้รอบตัว มีทักษะการใช้สื่อ มีประสบการณ์ในการเผยแผ่ ซึ่งเนื้อหาที่เผยแผ่ ได้แก่วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ ตามหลักพระไตรปิฎกเถรวาท และหลักธรรมที่นําไปใช้ในชีวิตประจําวัน เผยแผ่ด้วยภาษาที่ไม่เป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาบาลี-สันสฤต จัดเรียงและนําเสนอเนื้อหาเป็นลําดับ ยกตัวอย่างประกอบ และสร้างแรงบันดาลใจ สื่อหลักที่ใช้เผยแผ่ ได้แก่ สื่อบุคคลและสื่อกิจกรรม ในส่วนผู้รับสารมีความรู้ในหลักธรรมพื้นฐาน ข้อมูลวิปัสสนาจารย์ สถานปฏิบัติธรรม 2) การบริหารงานการสื่อสารองค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ผู้ปฏิบัติธรรม เห็นหนทางการดับทุกข์ ต้องบริหารการเงินโดยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ มีโครงสร้างองค์การแบบแบ่งตามหน้าที่ ให้ความสําคัญกับกิจกรรมการสื่อสาร มีการสั่งการตามลําดับชั้น การคัดเลือกบุคลากรเข้าทํางานยึดหลักความชํานาญและศรัทธา สร้างแรงจูงใจด้วยเงินและศรัทธาต่อภารกิจ ประเมินผลงานทั้งระดับบุคคลและระดับฝ่าย 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารคือ ต้องพัฒนาผู้ส่งสารที่เป็นวิปัสสนาจารย์ ให้มีวาทศิลป์ และอดทนต่อคําวิจารณ์ มุ่งใช้สื่อใหม่ประเภทยูทูปและการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน ขยาย การสร้างเครือข่ายการเผยแผ่กับองค์การที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ต้องพัฒนาการสร้างผู้ทําหน้าที่ เผยแผ่ที่เป็นฆราวาส มีการฝึกอบรมผู้ทําหน้าที่เผยแผ่ศาสนาอย่างต่อเนื่อง และต้องสร้างระบบการประเมินผลการเผยแผเป็นการเฉพาะ รวมทั้งพัฒนาการบริหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการสื่อสาร--แง่ศาสนาth_TH
dc.subjectพุทธศาสนา--การเผยแผ่th_TH
dc.titleการสื่อสารเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์th_TH
dc.title.alternativeCommunication for Buddhism propagation by the Young Buddhists Association of Thailand under the Royal Patronageen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameปรัชญาดุษฏีบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาเอกth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study Propagation by the Young Buddhists Association of Thailand under the Royal Patronage (YBAT) in terms of 1) the communication process; 2 ) communication management; and 3) approaches for developing better communication. This was a qualitative research using interviews, focus group discussion and observation. The key informants, chosen through purposive sampling, were 31 people with at least 5 years experience in communicating to teach about Buddhism, comprising 7 meditation instructors, 14 yogis, 7 administrators of YBAT, and 3 qualified experts. The research instruments were an in-depth interview form, focus group discussion questions and an observation form. Data were analyzed by drawing conclusions. The results showed that 1) The communication process: the message senders had the objective of letting the message receivers see and understand the path to extinguishing suffering. They had a good attitude about the content of their message (Dharma or Buddhist sermon) and they were credible. They had good overall knowledge and deep knowledge of the subject matter. They had media usage skills and experience in communicating to a wide audience. The messages communicated were about Vipassana (insight) meditation following the Four Foundations of Mindfulness according to the Theravada Tripitaka and other practical Dharma applications for everyday life. The messages were communicated in informal language rather than using the ancient Bali and Sanskrit languages. The content was presented in an orderly and organized manner with examples, and the teachers tried to create inspiration. The main media used for communication consisted of personal media and activities. The message receivers already had some knowledge of basic Buddhist principles, the meditation instructors and the meditation centers. 2) Communication management: YBAT had a mission of teaching about Buddhism and helping people see the path to end suffering. The organization had to manage its finances to reduce costs and increase income. The organizational structure was based on function with a hierarchal line of command and the priority was on communication activities. People were recruited based on expertise and faith. Incentives were both financial and spiritual rewards. Work evaluations were done of individuals and divisions. 3) Approaches for developing better communication: meditation instructors could receive more training on oratory skills and how to deal with criticism. The organization could use more new media such as Youtube and smartphone applications. YBAT could continue network building and teach more to related organizations in Thailand and other countries. Lay people could be developed to be Dharma teachers as adjuncts to the monks. Continuous training could be provided for Buddhism teachers. A new evaluation system should be designed to specifically evaluate the results of Buddhist teaching. Management could be made more efficienten_US
dc.contributor.coadvisorจันทนา ทองประยูรth_TH
dc.contributor.coadvisorพระครูปลัดอุทัย รตนปญโญth_TH
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib162541.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.08 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons