Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1603
Title: | การสื่อสารเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ |
Other Titles: | Communication for Buddhism propagation by the Young Buddhists Association of Thailand under the Royal Patronage |
Authors: | วิทยาธร ท่อแก้ว ประกายใจ อรจันทร์, 2519- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จันทนา ทองประยูร พระครูปลัดอุทัย รตนปญโญ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ การสื่อสาร--แง่ศาสนา พุทธศาสนา--การเผยแผ่ |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสื่อสาร 2) การบริหารงานการสื่อสาร และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลหลัก ที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนามาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี รวมจํานวน 31 คน ได้แก่วิปัสสนาจารย์ 7 คน โยคี 14 คน ผู้บริหารองค์การ 7 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ 3 คน เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง โดยมีเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก ประเด็นการสนทนากลุ่ม และ แบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการสื่อสารผู้ส่งสารมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับสารเห็นหนทาง แห่งการดับทุกข์ โดยผู้ส่งสารมีทัศนคติที่ดีต่อเนื้อหาหลักธรรมและผู้รับสาร เป็นผู้มีความน่าเชื่อถือ มีความรู้ในเนื้อหาหลักธรรม ความรู้รอบตัว มีทักษะการใช้สื่อ มีประสบการณ์ในการเผยแผ่ ซึ่งเนื้อหาที่เผยแผ่ ได้แก่วิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐานสี่ ตามหลักพระไตรปิฎกเถรวาท และหลักธรรมที่นําไปใช้ในชีวิตประจําวัน เผยแผ่ด้วยภาษาที่ไม่เป็นทางการ ไม่ใช้ภาษาบาลี-สันสฤต จัดเรียงและนําเสนอเนื้อหาเป็นลําดับ ยกตัวอย่างประกอบ และสร้างแรงบันดาลใจ สื่อหลักที่ใช้เผยแผ่ ได้แก่ สื่อบุคคลและสื่อกิจกรรม ในส่วนผู้รับสารมีความรู้ในหลักธรรมพื้นฐาน ข้อมูลวิปัสสนาจารย์ สถานปฏิบัติธรรม 2) การบริหารงานการสื่อสารองค์การมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้ผู้ปฏิบัติธรรม เห็นหนทางการดับทุกข์ ต้องบริหารการเงินโดยลดค่าใช้จ่ายและเพิ่มรายได้ มีโครงสร้างองค์การแบบแบ่งตามหน้าที่ ให้ความสําคัญกับกิจกรรมการสื่อสาร มีการสั่งการตามลําดับชั้น การคัดเลือกบุคลากรเข้าทํางานยึดหลักความชํานาญและศรัทธา สร้างแรงจูงใจด้วยเงินและศรัทธาต่อภารกิจ ประเมินผลงานทั้งระดับบุคคลและระดับฝ่าย 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารคือ ต้องพัฒนาผู้ส่งสารที่เป็นวิปัสสนาจารย์ ให้มีวาทศิลป์ และอดทนต่อคําวิจารณ์ มุ่งใช้สื่อใหม่ประเภทยูทูปและการสื่อสารผ่านสมาร์ทโฟน ขยาย การสร้างเครือข่ายการเผยแผ่กับองค์การที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ต้องพัฒนาการสร้างผู้ทําหน้าที่ เผยแผ่ที่เป็นฆราวาส มีการฝึกอบรมผู้ทําหน้าที่เผยแผ่ศาสนาอย่างต่อเนื่อง และต้องสร้างระบบการประเมินผลการเผยแผเป็นการเฉพาะ รวมทั้งพัฒนาการบริหารให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น |
Description: | ดุษฏีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1603 |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162541.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License