กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1604
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of the management model of radio broadcasting organization |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิทยาธร ท่อแก้ว รัศมิมาลย์ เกี่ยวศรีกุล, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิริวรรณ อนันต์โท นิพนธ์ นาคสมภพ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ กิจการวิทยุและโทรทัศน์--การบริหาร |
วันที่เผยแพร่: | 2562 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับ 1) สถานการณ์ แวดล้อม 2) รูปแบบการบริหาร และ 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหาร การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เลือกผู้ให้ ข้อมูลหลักแบบเจาะจงและแบบสโนว์บอล จํานวน 23 คน จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหาร และปฏิบัติงานสถานีวิทยุกระจายเสียงในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค จากสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ 5 คน ของกองทัพบก 5 คน และของ อสมท 5 คน และผู้ฟังรายการวิทยุกระจายเสียงแบบมีส่วนร่วมและรับฟังเป็นประจํา 8 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัย พบว่า 1) สถานการณ์แวดล้อมมีผลต่อการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียงโดยแรงผลักดันทาง การเมืองและกฎหมายทําให้สถานีวิทยุกระจายเสียงยกเลิกรูปแบบการดําเนินกิจการแบบสัมปทาน เปลี่ยนเป็นดําเนินการด้วยตนเอง และร่วมดําเนินการกับเอกชนหลายรายในหนึ่งสถานี กฎหมายลิขสิทธิ์ทําให้สถานีวิทยุกระจายเสียงมีต้นทุนการผลิตรายการสูงขึ้น แรงผลักดันทางเศรษฐกิจทําให้สถานีวิทยุกระจายเสียงประเภทบริการธุรกิจสร้างกิจกรรมเพื่อหารายได้เพิ่มแรงผลักดันทางเทคโนโลยีทําให้สถานีวิทยุกระจายเสียงใช้ช่องทางเผยแพร่รายการทางออนไลน์ควบคู่กับทางออนแอร์ แรงผลักดันทางพฤติกรรมผู้บริโภคสื่อทําให้สถานีวิทยุกระจายเสียงที่ผลิตรายการสําหรับวัยรุ่นปิดตัว ปรับเปลี่ยนไปผลิตรายการบนออนไลน์ ตามพฤติกรรมการรับสื่อของกลุ่มเป้าหมาย 2) รูปแบบการบริหารกิจการวิทยุ (1) ด้านองค์กรมีวัตถุประสงค์การประกอบกิจการของสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นไปตามพันธกิจขององค์กรต้นสังกัด โดยมีเป้าหมาย เพื่อเผยแพร่เนื้อหาสาระที่ผลิตขึ้นให้เข้าถึงผู้รับสารจํานวนมากที่สุด (2) ด้านโครงสร้างองค์กรได้ออกแบบสําหรับสื่อดั้งเดิม ใช้วิธีมอบหมายงานเพิ่มเติมให้บุคลากรผลิตรายการทางออนไลน์ (3) ด้านรายการสถานีวิทยุกระจายเสียงในส่วนภูมิภาคมี รายการหลากหลายรูปแบบออกอากาศต่อเนื่องกัน ส่วนสถานีสถานีวิทยุกระจายเสียงในกรุงเทพมหานคร ส่วนใหญ่เสนอ รายการลักษณะเดียวต่อเนื่องทั้งผังรายการ ที่มาของรายการมี 3 ประเภท คือ ผลิตเอง มีผู้ร่วมผลิต และเชื่อมโยงสัญญาณรายการจากสถานีอื่น ข่าวหลักของสถานีผลิตโดยหน่วยงานข่าวขององค์กรต้นสังกัด (4) ด้านรายได้ มาจากการจัดสรรงบประมาณ ภาครัฐ บริษัทร่วมผลิตรายการ การให้เช่าเวลารายย่อย การขายโฆษณา และการขายกิจกรรมให้กับผู้ฟัง มีการสร้างรูปแบบการขายบนออนแอร์ การขายกิจกรรม และขายบนออนไลน์ (5) ด้านเทคโนโลยีมีการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมให้ผู้ฟังเข้าถึงเนื้อหา ฟังซํ้า และเผยแพร่กิจกรรม โดยใช้เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน เฟซบุ๊ก และยูทูบ 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหาร สถานีวิทยุกระจายเสียงต้องปรับโครงสร้างกลุ่มงาน ให้รองรับการผลิตสื่อใหม่ เพิ่มทักษะบุคลากรให้มีทักษะที่หลากหลาย ปรับปรุง กฎระเบียบให้เอื้อต่อการแข่งขัน ผลิตรายการเนื้อหาเฉพาะกลุ่มโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เอง พัฒนาช่องทางรายได้ทั้งออนแอร์ กิจกรรม และออนไลน์ โดยสถานีวิทยุกระจายเสียงของกรมประชาสัมพันธ์ และของกองทัพบก ต้องพัฒนารูปแบบไปสู่การเป็นผู้ผลิตเนื้อหาบริการสาธารณะทั้ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และตัวอักษร กําหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง และเผยแพร่เนื้อหาในหลากหลายช่องทาง ส่วนของ อสมท จะต้องพัฒนารูปแบบองค์กรไปสู่ การทําธุรกิจสื่อบนช่องทางออนไลน์เต็มรูปแบบ |
รายละเอียด: | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1604 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib162518.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.16 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License