Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1605
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปิยฉัตร ล้อมชวการ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorกมลรัฐ อินทรทัศน์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorวารุณี กิตติสุทธิ์, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-09-19T04:24:12Z-
dc.date.available2022-09-19T04:24:12Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1605-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562th_TH
dc.description.abstractการวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องอัตลักษณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน วิทยาเขตสกลนคร เกี่ยวกับ 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ 2) ความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ และ 3) ปัจจัยอื่นที่เกี่่ยวข้องกับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 - 4 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ประจำปีการศึกษา 2560 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ บัณฑิต มทร.อีสาน วิทยาเขต สกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจงจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาและมีงานทำแล้วไม่น้อยกวา่ 1 ปี จำนวน 10 คน และ ผู้ใช้บัณฑิตจากสถานประกอบการที่บัณฑิตทำงานอยู่ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 100 เปิดรับสื่อ เสียงตามสาย และสื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ เฟซบุ๊กและเว็บไซต์ โดยช่วงเวลาในการรับฟังเสียงตามสายมากที่สุด ได้แก่ เวลา 12.30 -13.00 น. ร้อยละ 70.3 และใช้เวลาในการเปิดรับข้อมูลจากสื่อเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 84.5 2) ความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสื่อที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ สื่อเฟซบุ๊กและเว็บไซต์รองลงมาคือ สื่อป้ายไวนิลและโปสเตอร์ สื่อบุคคล จดหมายข่าวราย 3 เดือน และเสียงตามสาย ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจต่อสื่อ ประชาสัมพันธ์พบว่า ลำดับแรกสุดคือ ความสะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์การสื่อสารประเภทสื่อออนไลน์ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่าง มีอุปกรณ์สมาร์ตโฟนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ ตลอดเวลา ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องอัตลักษณ์ บัณฑิต มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร คือความทั่วถึงในการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบและช่องทาง ต่างๆ ที่สอดคล้องกับผลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเพิ่มในส่วนของการจัดกิจกรรม การเปิดโอกาสให้ นักศึกษามีโอกาสในการทำโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการจัดการเรียนสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติ และการฝึกงาน ร่วมกับสถานประกอบการต่างๆ อันเป็นการเน้นอัตลักษณ์ด้านความรู้ทางเทคโนโลยีของ มทร.อีสาน วิทยาเขต สกลนครth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพฤติกรรมข่าวสารth_TH
dc.subjectสถาบันอุดมศึกษา -- การประชาสัมพันธ์th_TH
dc.titleพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในเรื่องอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนครth_TH
dc.title.alternativeRajamangala University of Technology Isan, Sakon Nakhon Campus, students' media exposure behavior and satisfaction with internal public relations about graduate identityth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิเทศศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objective of this research was to study the identity of graduates of Rajamangala University of Technology Isan (RMUTI)’s Sakon Nakhon Campus, in terms of 1) RMUTI students’ exposure to RMUTI public relations media; 2) their satisfaction with RMUTI public relations media; and 3) factors related to their satisfaction with RMUTI public relations media. This was a mixed media research. For the quantitative portion, the sample population was 400 students of RMUTI’s Sakon Nakhon Campus (higher vocational certificate and bachelor’s degree students from years 1-4) enrolled in the 2017 academic year. The sample size was determined using the Taro Yamane table at 95% confidence. The research tool was a questionnaire. Data were analyzed with the descriptive statistics of percentage, mean, and standard deviation. For the qualitative portion, the 20 key informants, chosen through purposive sampling, consisted of 10 graduates of RMUTI’s Sakon Nakhon Campus who had been employed for at least one year, and 10 employers of those graduates. The research method was in-depth interviews. Data were analyzed by drawing conclusions. The results showed that 1) 100% of students reported being exposed to public relations news through audio loudspeaker announcements and Internet (Facebook and the university website). Most students (70.3%) listened to audio loudspeaker announcements from 12:30 to 13:00 and 84.5% visited at the RMUTI Facebook page and website for more than 5 hours per week. 2) Overall, the students had a high level of satisfaction with the public relations media. They were most satisfied with the Facebook page and the website, followed by vinyl signs and posters, personal media, quarterly newsletters and audio announcements, respectively. 3) The factors that affected students’ satisfaction with the public relations media, the primary factor was ease of access via online devices, because the students all had smartphones that they could use to connect to the Internet to search for information at any time. The results of the indepth interviews confirmed the results of the survey, indicating that the main factor that affected students’ satisfaction was the wide dissemination of the public relations news through the channels listed above. The key informants also added that RMUTI public relations about the identity of its student body also included activities media and opportunities for students to participate in various projects, including a teaching system that focused on practical work and internships at real world work situations. This reinforced the identity of RMUTI students as adept at technologyen_US
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib162612.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons