กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1605
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ภายในเรื่องอัตลักษณ์บัณฑิตของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rajamangala University of Technology Isan, Sakon Nakhon Campus, students' media exposure behavior and satisfaction with internal public relations about graduate identity
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปิยฉัตร ล้อมชวการ
วารุณี กิตติสุทธิ์, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
กมลรัฐ อินทรทัศน์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
พฤติกรรมข่าวสาร
สถาบันอุดมศึกษา--การประชาสัมพันธ์
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องอัตลักษณ์บัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล อีสาน วิทยาเขตสกลนคร เกี่ยวกับ 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ 2) ความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ และ 3) ปัจจัยอื่นที่เกี่่ยวข้องกับความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี คือ การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 - 4 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ประจำปีการศึกษา 2560 โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน และกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากตารางทาโร ยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ บัณฑิต มทร.อีสาน วิทยาเขต สกลนคร โดยเลือกแบบเจาะจงจากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาและมีงานทำแล้วไม่น้อยกวา่ 1 ปี จำนวน 10 คน และ ผู้ใช้บัณฑิตจากสถานประกอบการที่บัณฑิตทำงานอยู่ จำนวน 10 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประชาสัมพันธ์ของกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 100 เปิดรับสื่อ เสียงตามสาย และสื่ออินเทอร์เน็ต ได้แก่ เฟซบุ๊กและเว็บไซต์ โดยช่วงเวลาในการรับฟังเสียงตามสายมากที่สุด ได้แก่ เวลา 12.30 -13.00 น. ร้อยละ 70.3 และใช้เวลาในการเปิดรับข้อมูลจากสื่อเฟซบุ๊กและเว็บไซต์ มากกว่า 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คิดเป็นร้อยละ 84.5 2) ความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยสื่อที่มีความพึงพอใจมากที่สุดคือ สื่อเฟซบุ๊กและเว็บไซต์รองลงมาคือ สื่อป้ายไวนิลและโปสเตอร์ สื่อบุคคล จดหมายข่าวราย 3 เดือน และเสียงตามสาย ตามลำดับ และ 3) ปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับความพึงพอใจต่อสื่อ ประชาสัมพันธ์พบว่า ลำดับแรกสุดคือ ความสะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์การสื่อสารประเภทสื่อออนไลน์ เนื่องจากกลุ่มตัวอย่าง มีอุปกรณ์สมาร์ตโฟนที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อการค้นคว้าข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้ ตลอดเวลา ในส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจต่อสื่อประชาสัมพันธ์ เรื่องอัตลักษณ์ บัณฑิต มทร.อีสาน วิทยาเขตสกลนคร คือความทั่วถึงในการเผยแพร่สื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบและช่องทาง ต่างๆ ที่สอดคล้องกับผลที่ได้จากการวิจัยเชิงปริมาณ โดยเพิ่มในส่วนของการจัดกิจกรรม การเปิดโอกาสให้ นักศึกษามีโอกาสในการทำโครงการต่างๆ โดยเฉพาะการจัดการเรียนสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติ และการฝึกงาน ร่วมกับสถานประกอบการต่างๆ อันเป็นการเน้นอัตลักษณ์ด้านความรู้ทางเทคโนโลยีของ มทร.อีสาน วิทยาเขต สกลนคร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2562
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1605
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib162612.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons