กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1608
ชื่อเรื่อง: การเปิดรับและความต้องการด้านเนื้อหาและรูปแบบรายการข่าววิทยุกระจายเสียงของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Exposure to and needs towards news radio program’s content and format of people in Lower Northeast Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์
วีรยุทธ น้อยพรหม, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สันทัด ทองรินทร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ข่าววิทยุ--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
วิทยุกระจายเสียง--ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การเปิดรับฟังรายการข่าววิทยุกระจายเสียง (2) ความต้องการด้านเนื้อหาและรูปแบบรายการข่าววิทยุกระจายเสียง (3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับฟังรายการข่าววิทยุกระจายเสียงและ (4) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับความต้องการด้านเนื้อหา รูปแบบและวิธีการนําเสนอรายการข่าววิทยุกระจายเสียงของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง การวิจัยครั้งนี้เป็น การวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จํานวน 400 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับฟังรายการข่าววิทยุกระจายเสียงจากหอกระจายข่าว โดยฟัง 3-4 วัน/สัปดาห์ ประเภทข่าวที่ฟังส่วนใหญ่ คือ ข่าวท้องถิ่น และรับฟังในช่วง เช้าเวลา 06.00 – 09.00 น. (2) กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการด้านเนื้อหาข่าวในด้านคุณภาพของข่าวมากที่สุด โดยข่าวจะต้องมีแหล่งที่มาชัดเจน ทันเหตุการณ์ ส่วนประเภทข่าวที่มีความต้องการรับฟังมากที่สุดคือ ข่าวท้องถิ่นที่นําเสนอโดยวิธีการเล่าข่าวในช่วงเวลา 06.00 – 09.00 น. ความยาว 30 นาที มากที่สุด และผู้ดําเนินรายการต้องมีความสามารถในการอ่านข่าวให้เข้าใจง่าย (3) ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มีอายุระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกันมีการเปิดรับฟังรายการข่าววิทยุกระจายเสียงแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ (4) ประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่มีอายุและระดับการศึกษา แตกต่างกันมีความต้องการด้านความยาวของเวลาการนําเสนอข่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1608
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib160548.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.6 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons