Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1613
Title: การสื่อสารระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
Other Titles: Communication between a monarch and his subjects as seen through the royal announcements of King Mongkut (Rama IV)
Authors: สุภาภรณ์ ศรีดี
ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์, 2537-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปัณฉัตร หมอยาดี
วศิน ปัญญาวุธตระกูล
Keywords: จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411--พระราชนิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
การสื่อสารทางการเมือง--ไทย
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบททางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชสถานะที่ทรงเป็นผู้ส่งสารระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ และ 2) ประเด็นการสื่อสารและวิธีการสื่อสารระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชนผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยระหว่าง พ.ศ.2347–2411 และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ นิเทศศาสตร์ และคติชนวิทยา จํานวน 4 ท่าน เพื่อเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของผลการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบททางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชสถานะของการเป็นผู้ส่งสาร ได้แก่ (1) ประวัติศาสตร์ภายในประเทศ ประกอบด้วยประสบการณ์เมื่อทรง เป็นสมเด็จเจ้าฟ้า และการเรียนรู้วิทยาการและการใกล้ชิดกับประชาชนเมื่อครั้งยังทรงพระผนวช และ (2) ประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศ ประกอบด้วยการขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมและการเปิดเสรีทางการค้าบริบทดังกล่าวข้างต้นส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ประกาศฉบับต่าง ๆ เพื่อสื่อสารกับประชาชนโดยตรง ทําให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ความทันสมัยได้ตามพระราชประสงค์ และ 2) ประเด็นการสื่อสารผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ เรื่องกฎหมายและสิทธิพลเมืองด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เรื่องกลไกราคาและภาษี และด้าน สังคมและวัฒนธรรม ได้แก่ เรื่องคุณภาพชีวิต การศาสนา ภาษาและศิลปวัฒนธรรม และการพระราชสํานัก วิธีการ สื่อสารผ่านประกาศพระราชนิพนธ์นี้ทรงใช้ลีลาภาษาที่มีชีวิต ชัดเจน ถูกต้อง เหมาะสม สามารถสร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้อ่านได้ และทรงใช้โครงสร้างข้อความอันหลากหลายคือการเรียงลําดับเหตุการณ์ พื้นที่ ความสําคัญ เหตุผล แนวทางแก้ไขปัญหา แรงจูงใจ และหัวข้อที่ต้องการจะสื่อสาร นอกจากนี้ยังทรงใช้ภาพพจน์ สองประเภทในการพระราชนิพนธ์ คืออุปมาและอุปลักษณ์ในการพรรณนาความ การใช้วิธีการสื่อสารดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ประกาศพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเหมาะสมต่อประชาชนผู้รับสารทุกกลุ่มโดยทั่วไป
Description: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1613
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib162521.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons