Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1619
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทยาธร ท่อแก้ว | th_TH |
dc.contributor.author | ศราณี เวศยาสิรินทร์, 2518- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา | th_TH |
dc.date.accessioned | 2022-09-20T08:37:53Z | - |
dc.date.available | 2022-09-20T08:37:53Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1619 | en_US |
dc.description | ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 | th_TH |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านสื่อพื้นบ้านหนังตะลุงเกี่ยวกับ 1) อัตลักษณ์คนใต้ที่มีผู้กำหนดไว้ในพื้นที่ลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา 2) กลวิธีประกอบสร้างอัตลักษณ์คนใต้จากหนังตะลุง และ 3) การถอดรหัสความหมายคนใต้ของผู้ชมหนังตะลุง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ตัวบทหนังตะลุง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นายหนังตะลุง จํานวน 3 คน ได้แก่ 1) กลุ่มหนังตะลุงอนุรักษ์ คือ นายหนังรุ่งวิเชียร ตะลุงเสียงทอง 2) กลุ่มหนังตะลุงผสมผสาน คือ นายหนังแนบ นวลจันทร์ ศ. นครินทร์ และ 3) กลุ่มหนังตะลุงทันสมัย คือ นายหนังเอียดนุ้ย ศ. เคล้าน้อย และกลุ่มผู้ชมการแสดงหนังตะลุง จํานวน 9 คน เป็นผู้ชมหนังตะลุงอย่างต่อเนื่อง ผู้ชมหนังตะลุงเมื่อมีโอกาสและผู้ชมหนังตะลุงตามกระแสนิยม โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบวิเคราะห์ตัวบทหนังตะลุง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตลักษณ์คนใต้ที่มีผู้กำหนดไว้ในพื้นที่ลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา คือ (1) คนใต้มีถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นภูเขา ป่า ทุ่งนา ทะเล ภูมิอากาศ มีฤดูฝน ฤดูร้อน มีลมประจําถิ่น ตั้งบ้านเรือนแบบยกเสาสูง (2) ตัวบุคคล มีรูปร่างหน้าตา ผิวเข้ม ผมหยิก ตาคม ตัวโปร่งบาง คางแหลม บุคลิกนิสัย กตัญญู รักศักดิ์ศรี ช่างเจรจา และรักพวกพ้อง แต่งกายแบบพื้นบ้านใส่ผ้าถุง และนุ่งผ้าขาวม้า อาชีพทําไร่ ทํานา ทําสวน ประมง และค้าขาย ใช้ภาษาใต้แตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ กินอาหารเน้นวัตถุดิบในท้องถิ่น รสจัด และมีเครื่องเคียง (3) โลกทัศน์ มีความเชื่อมาจากศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติ มีพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตและความเชื่อ 2) กลวิธีการประกอบสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านหนังตะลุง ใช้กลวิธีแบบตะวันตกด้วยวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีตามรูปแบบ แบบหนังตะลุงด้วยขนบนิยมและศิลปะการแสดงหนังตะลุง โดยการสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านหนังตะลุง ที่เข้ารหัสไว้ คือ (1) ถิ่นที่อยูอาศัย แบบเหนือธรรมชาติ และในชีวิตจริง (2) ตัวบุคคล เป็นคนเหนือมนุษย์คนชั้นสูง และคนใต้ทั่วไป (3) โลกทัศน์ เชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครูบาอาจารย์ การทําความดี มีเมตตา เชื่อฟังบุพการี และรักชาติรักบ้านเมือง 3) การถอดรหัสอัตลักษณ์คนใต้จากผู้ชมหนังตะลุง คนใต้มี อัตลักษณ์ คือ (1) ถิ่นที่อยูอาศัย อยู่ ในฉากตามจินตนาการ และถิ่นที่อยูตามความเป็นจริง (2) ตัวบุคคลมีลักษณะเหนือมนุษย์ คนชั้นสูง และคนใต้ทั่วไป (3) โลกทัศน์ มีความเชื่อในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และศิลปวัฒนธรรม ประเพณีภาคใต้ (4) ลักษณะการต่อรอง การต่อต้าน และการยอมรับ ซึ่งผู้ชมต่างยอมรับในอัตลักษณ์คนใต้ ประเภทตัวบุคคล คือ ตัวตลกในหนังตะลุงเป็นตัวแทนของคนใต้ทั่วไป ทั้งการแต่งกาย บุคลิกนิสัย ภาษา อาหาร การกิน และอาชีพ ซึ่งตรงกบัอัตลักษณ์คนใต้ที่ถูกประกอบสร้างในหนังตะลุงและอัตลักษณ์คนใต้ที่มีผู้กำหนดไว้ในพื้นที่ลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Born digital | en_US |
dc.subject | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ | th_TH |
dc.subject | หนังตะลุง | th_TH |
dc.subject | อัตลักษณ์--ไทย (ภาคใต้) | th_TH |
dc.subject | ภูมิปัญญาชาวบ้าน--ไทย (ภาคใต้) | th_TH |
dc.title | การสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านหนังตะลุง | th_TH |
dc.title.alternative | Indentity construction of southern Thai people through shadow play | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ปรัชญาดุษฏีบัณฑิต (นิเทศศาสตร์) | th_TH |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชานิเทศศาสตร์ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were to study 1) the prevailing identity of southern Thais in the Lake Songkhla region; 2) tactics in which the identity of southern Thais is constructed via the folk medium of shadow play; and 3) shadow puppet show viewers’ signification of the meaning of southern Thai people. This was a qualitative research based on documentary research, analysis of shadow puppet show scripts, in-depth interviews and focus group discussions. The key informants came from 3 groups: 1) conservative shadow puppet troupes, represented by puppet master Rungwichien Talungsiangtong; 2) mixed shadow puppet troupes, represented by puppet master Naeb Nualjan Sor Nakarin; and 3) modern shadow puppet troupes, represented by puppet master Iadnuy Sor Klaonoy. The other 9 purposively selected samples represented 3 kinds of audience members: regular shadow puppet show fans, occasional watchers, and popular trend followers. The research tools were a document analysis form, a puppet show script analysis form, an in-depth interview form and a focus group discussion form. Data were analyzed through descriptive analysis. The results showed that 1) for the prevailing identity of southern Thais in the Lake Songkhla region, (a) they inhabit mountains, forests, fields, and the sea; the climate consists of a rainy season and a hot season with local wind patterns; and they live in houses raised on stilts; (b) the people are dark-skinned with curly hair and dark eyes, slight figures, and sharp chins; their characters are grateful, honorable, good at negotiating and loyal to their group; they tend to wear traditional sarongs made of homespun cotton; they are farmers, fishermen and tradesmen; they speak particular local dialects; they eat spicy foods made from local ingredients with condiments; and (c) their worldview is influenced by beliefs about religion and the supernatural; and they practice customs based on their way of life and beliefs. 2) As for tactics in which the identity of southern Thais is constructed via shadow plays, shadow puppet performers use the Western method of storytelling and also tactics specific to the shadow puppet art form that are based on local traditions. The identity of southern Thais encoded in shadow puppet performances consists of (a) their habitation, both supernatural and in real life; (b) individuals who are superhuman, high class and common folk; (c) a world view with belief in the supernatural, respect for the sacred and for teachers, valuing good deeds, mercy, obedience and nationalism; 3) shadow puppet show viewers’ signification of the meaning of southern Thai people (a) habitations were in imaginary scenes and in real life places; (b) characters represented superhuman figures, high class people and common folk; (c) the worldview was transmitted through belief in sacred rituals and southern Thai art and culture; (d) negotiating, defiance and acceptance as viewers accepted the individual identity of southern Thai people as represented by the clown character in the shadow puppet shows because of his style of dress, personality, language, culinary style, and occupation, which matched the southern Thai identity that prevailed in the locality and that was portrayed in shadow puppet performances | en_US |
dc.contributor.coadvisor | สุภาภรณ์ ศรีดี | th_TH |
dc.contributor.coadvisor | พิทยา บุษรารัตน์ | th_TH |
Appears in Collections: | Comm-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thesbib160918.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License