กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1619
ชื่อเรื่อง: การสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านหนังตะลุง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Indentity construction of southern Thai people through shadow play
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ศราณี เวศยาสิรินทร์, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
หนังตะลุง
อัตลักษณ์ -- ไทย (ภาคใต้)
ภูมิปัญญาชาวบ้าน -- ไทย (ภาคใต้)
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านสื่อพื้นบ้านหนังตะลุงเกี่ยวกับ 1) อัตลักษณ์คนใต้ที่มีผู้กำหนดไว้ในพื้นที่ลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา 2) กลวิธีประกอบสร้างอัตลักษณ์คนใต้จากหนังตะลุง และ 3) การถอดรหัสความหมายคนใต้ของผู้ชมหนังตะลุง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์ตัวบทหนังตะลุง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ นายหนังตะลุง จํานวน 3 คน ได้แก่ 1) กลุ่มหนังตะลุงอนุรักษ์ คือ นายหนังรุ่งวิเชียร ตะลุงเสียงทอง 2) กลุ่มหนังตะลุงผสมผสาน คือ นายหนังแนบ นวลจันทร์ ศ. นครินทร์ และ 3) กลุ่มหนังตะลุงทันสมัย คือ นายหนังเอียดนุ้ย ศ. เคล้าน้อย และกลุ่มผู้ชมการแสดงหนังตะลุง จํานวน 9 คน เป็นผู้ชมหนังตะลุงอย่างต่อเนื่อง ผู้ชมหนังตะลุงเมื่อมีโอกาสและผู้ชมหนังตะลุงตามกระแสนิยม โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบวิเคราะห์ตัวบทหนังตะลุง แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบการสนทนากลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า 1) อัตลักษณ์คนใต้ที่มีผู้กำหนดไว้ในพื้นที่ลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา คือ (1) คนใต้มีถิ่นที่อยู่อาศัยเป็นภูเขา ป่า ทุ่งนา ทะเล ภูมิอากาศ มีฤดูฝน ฤดูร้อน มีลมประจําถิ่น ตั้งบ้านเรือนแบบยกเสาสูง (2) ตัวบุคคล มีรูปร่างหน้าตา ผิวเข้ม ผมหยิก ตาคม ตัวโปร่งบาง คางแหลม บุคลิกนิสัย กตัญญู รักศักดิ์ศรี ช่างเจรจา และรักพวกพ้อง แต่งกายแบบพื้นบ้านใส่ผ้าถุง และนุ่งผ้าขาวม้า อาชีพทําไร่ ทํานา ทําสวน ประมง และค้าขาย ใช้ภาษาใต้แตกต่างกันตามแต่ละพื้นที่ กินอาหารเน้นวัตถุดิบในท้องถิ่น รสจัด และมีเครื่องเคียง (3) โลกทัศน์ มีความเชื่อมาจากศาสนาและสิ่งเหนือธรรมชาติ มีพิธีกรรมเกี่ยวเนื่องกับวิถีชีวิตและความเชื่อ 2) กลวิธีการประกอบสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านหนังตะลุง ใช้กลวิธีแบบตะวันตกด้วยวิธีการเล่าเรื่อง และกลวิธีตามรูปแบบ แบบหนังตะลุงด้วยขนบนิยมและศิลปะการแสดงหนังตะลุง โดยการสร้างอัตลักษณ์คนใต้ผ่านหนังตะลุง ที่เข้ารหัสไว้ คือ (1) ถิ่นที่อยูอาศัย แบบเหนือธรรมชาติ และในชีวิตจริง (2) ตัวบุคคล เป็นคนเหนือมนุษย์คนชั้นสูง และคนใต้ทั่วไป (3) โลกทัศน์ เชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติ เคารพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ครูบาอาจารย์ การทําความดี มีเมตตา เชื่อฟังบุพการี และรักชาติรักบ้านเมือง 3) การถอดรหัสอัตลักษณ์คนใต้จากผู้ชมหนังตะลุง คนใต้มี อัตลักษณ์ คือ (1) ถิ่นที่อยูอาศัย อยู่ ในฉากตามจินตนาการ และถิ่นที่อยูตามความเป็นจริง (2) ตัวบุคคลมีลักษณะเหนือมนุษย์ คนชั้นสูง และคนใต้ทั่วไป (3) โลกทัศน์ มีความเชื่อในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์และศิลปวัฒนธรรม ประเพณีภาคใต้ (4) ลักษณะการต่อรอง การต่อต้าน และการยอมรับ ซึ่งผู้ชมต่างยอมรับในอัตลักษณ์คนใต้ ประเภทตัวบุคคล คือ ตัวตลกในหนังตะลุงเป็นตัวแทนของคนใต้ทั่วไป ทั้งการแต่งกาย บุคลิกนิสัย ภาษา อาหาร การกิน และอาชีพ ซึ่งตรงกบัอัตลักษณ์คนใต้ที่ถูกประกอบสร้างในหนังตะลุงและอัตลักษณ์คนใต้ที่มีผู้กำหนดไว้ในพื้นที่ลุ่มนํ้าทะเลสาบสงขลา
รายละเอียด: ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1619
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Comm-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib160918.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons