Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1626
Title: ปัจจัยจูงใจพฤติกรรมการใช้และความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคมออนไลน์ของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่
Other Titles: Chiang Mai municipality elders’ incentive factors, uses of and satisfaction with social media networks
Authors: สันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชยกร โสตถิกุล, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
อินเทอร์เน็ตกับผู้สูงอายุ -- ไทย -- เชียงใหม่
เครือข่ายสังคมออนไลน์ -- ไทย -- เชียงใหม่ -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใชับริการเครือข่ายสังคม 2) ปัจจัย จูงใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคม 3) ความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 4) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรของผู้สูงอายุในเขตอำเภอ เมือง จังหวัดเชียงใหม่ กับความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคม และ 5) ความสัมพันธ์ ระหว่างแรงจูงใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคมกับความพึงพอใจในการใช้บริการเครือข่ายสังคม ของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ จานวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์แบบเทียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่ ส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคม ผ่านช่องทาง โทรศัพท์มือถือ ไดยใช้เฟชบุ๊กมากที่สุด มีวัตถุประสงค์เพื่อติดต่อสื่อสารภายใน ครอบครัว โดยกลุ่มตัวอย่างใช้เครือข่ายสังคมทุกวันต่อสัปดาห์โดยเฉพาะในช่วงเย็น 2) ผู้สูงอายุที่ ใช้เครือข่ายสังคมมีแรงจูงใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก เพราะการใช้งานง่าย สะดวกและทัน เหตุการณ์ของข้อมูลข่าวสาร 3) ผู้สูงอายุที่ใช้เครือข่ายสังคมมีความพึงพลใจโดยรวมอยู่ในระดับ มาก โดยเฉพาะการสนทนาเพื่อสร้างความใกล้ชิดหรือเชื่อมความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัว 4) ผู้สูงอายุที่มีอายุการศึกษาและรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความพึงพอใจในการใช้เครือข่าย สังคมแตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และ 5) แรงจูงใจในการใช้เครือข่ายสังคมมี ความสัมพันธ์ความพึงพอใจในการใช้เครือข่ายสังคมของผู้สูงอายุในระดับสูงมากโดยมีค่า ความสัมพันธ์เท่ากับ 0.916
Description: (นศ.ม.(นิเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1626
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib160600.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.82 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons