Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1627
Title: การรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศของนักเรียนนักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
Other Titles: Social media literacy on sexuality among Bunditpatanasilpa Institute students
Authors: ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันทัด ทองรินทร์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฎฐพัชร คุ้มบัว, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การรู้เท่าทันสื่อ
สื่อสังคมออนไลน์
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคม (2) การรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศ (3) เปรียบเทียบลักษณะทางประชากรกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศ และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศของนักเรียน นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียน/นักศึกษาสถาบันบัณฑิต พัฒนศิลป์ ระดับมัธยมศึกษา (ม.1- ม.6) และระดับอาชีวศึกษา (ปวช.,ปวส.) จํานวน 380 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าความถี่ค่าร้อย ละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดี่ยว และ สัมประสิทธิ์ สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารจากสื่อสังคมทุกวัน โดยใช้เฟซบุ๊ก มากที่สุดและใช้เวลาเปิดรับสื่อ 5-6 ชั่วโมงต่อวัน ส่วนใหญ่เปิดรับเนื้อหาประเภทข่าวหรือเหตุการณ์ ประจําวันมากที่สุด รองลงมาเป็นการใช้ดูหนัง ฟังเพลงและสนทนากับเพื่อนในยามว่าง กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เปิดรับเนื้อหาทางเพศจากสื่อสังคมในภาพรวมอยูในระดับน้อย ใช้เวลาเปิดรับสื่อต่อครั้งน้อย กว่า 1 ชั่วโมง โดยเปิดรับรูปภาพโป๊ เปลือยหรือภาพลามกอนาจาร มากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 2.65 (2) กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศทั้ง 4 ด้าน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย 3.41 ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยการรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศมากที่สุดคือการสร้างสรรค์สื่อสังคมเรื่องเพศ มีค่าเฉลี่ย 3.59 อยู่ในระดับมากรองลงมาคือการวิเคราะห์สื่อสังคมเรื่องเพศ มีค่าเฉลี่ย 3.57 มีอยู่ในระดับมาก ด้านการประเมินสื่อสังคมเรื่องเพศ มีค่าเฉลี่ย 3.41 อยู่ในระดับมาก และการเข้าถึงสื่อสังคมเรื่องเพศ มีค่าเฉลี่ย 3.06 อยู่ในระดับปานกลาง (3) เพศ อายุ ระดับชั้นเรียน เกรดเฉลี่ยและที่พักอาศัยของนักเรียน/ นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ที่แตกต่างกันมีการรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศต่างกันและ (4) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของนักเรียน/นักศึกษาสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ มีความสัมพันธ์ กับการรู้เท่าทันสื่อสังคมเรื่องเพศ โดยมีความสัมพันธ์แบบผกผันหรือในทิศทางตรงกนข้าม
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.(สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/1627
Appears in Collections:Comm-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib159684.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.54 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons